ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล* THE EFFECTS OF GROUP PSYCHOEDUCATION PROGRAM ON DEPRESSION OF NURSING STUDENTS

ผู้แต่ง

  • ณิชาภัทร มณีพันธ์ พยาบาลวิชาชีพ กำลังศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
  • สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว รองศาสตราจารย์
  • เพ็ญพักตร์ อุทิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คำสำคัญ:

group psychoeducation program, depression, nursing students, โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาภาวะซึมเศร้า นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

Abstract
Objective: To determine the effect of a group psychoeducation program on depression among nursing students.
Methods: This was a quasi- experimental research design. Samples consisted of 60 nursing
students whose depression scores, assessed by the Thai Depressive Inventory (TDI), were ranged between 21 and 34, mild to moderate level of depression. Sixty of them, all female, age between 18-20, were selected according to the study criteria and were assigned to the study group and the control group, 30 in each group. The subjects in the study group participated in the 4-weeks, group psychoeducation program, while the control group was treated normally. The instruments employed in the study were a 4 - week group psychoeducation program, a personal data sheet, and Thai Depression Inventory (TDI).
Four weeks after finishing the psychoeducation program both the study and control groups
were asked to complete the TDI again, and the scores were analyzed, using a paired t-test within the groups and an independent t-test between groups. 
Results: After participating in the group psychoeducation program, the depression score for
the study group was significantly lower than the depression score before joining the psychoeducation program (t = 9.68, p < .05), while the depression score for the control group remained the same (t = 1.96, p >.05). The depression score for the study group was significantly lower than the depression score for the routine care (t = 9.68, p < .05).
Conclusion: The study suggests that the group psychoeducation program was effective in
helping reduce the depression level among nursing students.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลเพศหญิงอายุระหว่าง 18-20 ปี มีคะแนนภาวะซึมเศร้าที่วัดโดยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า อยู่ระหว่าง 21-34คะแนน จัดเป็นภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 60 คน แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกล่มุ ควบคุม กล่มุ ละ 30 คน กล่มุ ทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา เป็นเวลา 4 สัปดาห์ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของมหาวิทยาลัยเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ pair t-test และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศรา้ ระหว่างกลมุ่ทดลองและกลมุ่ ควบคุมก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ independent t-test
ผลการศึกษา: ภายหลังการให้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ต่ำกว่าก่อนการให้สุขภาพจิตศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.68, p < .05) ในขณะที่คะแนนภาวะซึมเศร้าของกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (t = 1.96, p > .05) ส่วนคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม
สุขภาพจิตศึกษาภายหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t = 9.68, p < .05)
สรุปผลการศึกษา: โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่ม สามารถลดภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล

Author Biographies

ณิชาภัทร มณีพันธ์, พยาบาลวิชาชีพ กำลังศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, รองศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพ็ญพักตร์ อุทิศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31