การศึกษาการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและ สุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน* THE STUDY OF COMMUNITY PSYCHIATRIC AND MENTAL HEALTH PRACTICE AMONG VILLAGE HEALTH VOLUNTEERS

Main Article Content

ศิริลักษณ์ ช่วยดี
โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

Abstract
Objective: To compare mean scores of community psychiatric and mental health practices of village health volunteer according to selected factors which were: age, educational level, marital status and income, duration of working as village health volunteer, knowledge of psychiatric illnesses and psychiatric patients care, and attitude toward psychiatric illnesses and psychiatric patients care.
Methods: The participants consisted of 361 village health volunteers who were registered  and have worked for the District Health Promoting Hospital in a district of Kanchanaburi  province. The research instruments included Demographic Data Questionnaire, Knowledge of Psychiatric Illnesses and Psychiatric Patients Care Questionnaire, Attitude toward psychiatric Illnesses and Psychiatric Patients Care Questionnaire and Community Mental Health Practices of Village Health Volunteer Questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and One-way Analysis of Variance.
Results: The results revealed that there are statistically and significantly different in mean scores of community psychiatric and mental health practices of village health volunteer according to educational level, duration of working as village health volunteer and knowledge of psychiatric illnesses and psychiatric patients care. Results from this study would be utilized to improve community psychiatric and mental health practices of village health volunteer as well as to develop program for enhancing the efficiency of community psychiatric and mental health practices of village health volunteer.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตามปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ ระยะเวลา ในการปฏิบัติงานตำแหน่ง อสม. ความรู้ของ อสม.เกี่ยวกับโรคจิตเวชและการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และทัศนคติของ อสม. ที่มีต่อโรคจิตเวชและการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ที่ขึ้นทะเบียนและปฏิบัติงานให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนึ่ง ของจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต/ ผู้ป่วยจิตเวช แบบวัดทัศนคติของอสม.ต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต/ ผู้ป่วยจิตเวชและการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต/ ผู้ป่วยจิตเวช และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในงานจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบมี 1 ตัวแปร
ผลการศึกษา: อสม. ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน, ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตำแหน่ง อสม. ต่างกัน และระดับความรู้ของ อสม. เกี่ยวกับโรคจิตเวชและการดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่างกัน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาการดำเนินงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของ อสม. รวมถึงพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริลักษณ์ ช่วยดี, นักศึกษา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

โสภิณ แสงอ่อน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

พัชรินทร์ นินทจันทร์, รองศาสตราจารย์

โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล