ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์
จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยแบบศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (predictive correlational design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถ ของเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ (negative events) บรรยากาศในครอบครัว และสัมพันธภาพกับเพื่อนในการร่วมกันทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 748 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต 3) แบบประเมินเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ 4) แบบสอบถามบรรยากาศในครอบครัว และ 5) แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติความสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน


ผลการศึกษา: 1) เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.263, p < .01) และบรรยากาศในครอบครัวและสัมพันธภาพกับเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .543, p < .01; rs = .326, p < .01, ตามลำดับ) และ 2) ปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย (เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว และสัมพันธภาพกับเพื่อน) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีได้ร้อยละ 34.60 (F = 130.953, df = 3, 744, p < .001) โดยปัจจัยแต่ละปัจจัยมีอิทธิพลต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ บรรยากาศในครอบครัว (β = .493, p < .001) สัมพันธภาพกับเพื่อน (β = .126,p < .001) และ เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ(β = -.114, p < .001)


สรุป: ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้แก่นักศึกษาพยาบาลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยกุล ตรีสุวรรณ. (2542). การศึกษาเอกลักษณ์แห่งตนของนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาจิตวิทยาการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวิกาญจน์ ไชยแก้ว. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมที่ทำนายการปรับตัวด้านสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา การปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล สมรรคเสวี, กนกพร เรืองเพิ่มพูล, โสภิณ แสงอ่อน, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาล. รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

นฤมล สมรรคเสวี และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(3), 11-27.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภร, และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, พิศสมัย อรทัย, และพูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ บรรยากาศในครอบครัว ความแข็งแกร่งในชีวิต และสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 401-414.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, วารีรัตน์ ถาน้อย,โสภิณ แสงอ่อน, มาณวิภา พัฒนมาศ, และช่อทิพย์ อินทรักษา. (2560). ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่นกลุ่มด้อยโอกาส. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(1), 13-28.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 12-26.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2553). การพัฒนาแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต. รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, จริยา วิทยะศุภร, นพวรรณ เปียซื่อ, ทัศนา ทวีคูณ, และพิศสมัย อรทัย. (2552). คู่มือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต. โครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

มณฑา ลิ้มทองกุล และสุภาพ อารีเอื้อ. (2552). แหล่งความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด และผลลัพธ์การเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ในการฝึกภาคปฏิบัติครั้งแรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(2), 192-205.

มะลิวรรณ วงษ์ขันธ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 57-75.

Ahern, N. R. (2006). Adolescent Resilience: An Evolutionary Concept Analysis. Journal of Pediatric Nursing, 21(3), 175-185.

Beauvais, A. M., Stewart, J. G., DeNisco, S., & Beauvais, J. E. (2014). Factors related to academic success among nursing students: A descriptive correlational research study. Nurse Education Today, 34, 918-923. doi:10.1016/j.nedt.2013.12.005

Boonyamalik, P. (2005). Epidemiology of adolescent suicidal ideation: Roles of perceived life stress, depressive symptoms, and substance use, Doctor of Medicine, Johns Hopkins University.

Cestari, V. R., Barbosa, I. V., Florêncio, R. S., Pessoa, V. L., & Moreira, T. M. (2017). Stress in nursing students: Study on sociodemographic and academic vulnerabilities. Acta Paulista de Enfermagem. 30(2), 190-196.

Chow, K. M., Tang, W. K. F., Chan, W. H. C., Sit, W. H. J., Choi, K. C., & Chan, S. (2018). Resilience and well-being of university nursing students in Hong Kong: a cross-sectional study. BMC Medical Education, 18(1), 1-8. DOI 10.1186/s12909-018-1119-0

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum. Diasa, P. C., & Cadimeb, I. (2017). Protective factors and resilience in adolescents: The mediating role of self-regulation. Psicología Educativa, 23(1), 37–43.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. doi:10.3758/brm.41.4.1149

Grotberg, E. H. (1996). The International resilience project: Findings from the research and the effectiveness of interventions. Retrieved May 15, 2018, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED419584.pdf

Grotberg, E. H. (1999). Countering depression with the five building blocks of resilience. Reaching Today’s Youth, 4(1), 66-72. Retrieved July 29, 2014, from https://cpor. org/ri/Countering depression - 5Resilience BuildingBlocks.pdf

Mathad, M. D., Pradhan, B., & Rajesh, S. K. (2017). Correlates and predictors of resilience among baccalaureate nursing students. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 11(2), 5-8.

Peng, L., Zhang, J., Li, M., Li, P., Zhang, Y., Zuo, X., et al. (2012). Negative life events and mental health of Chinese medical students: The effect of resilience, personality and social support. Psychiatry Research, 196 (1), 138–141.

Reeve, K. L., Shumaker, C. J., Yearwood, E. L., Crowell, N. A., & Riley, J. B. (2013). Perceived stress and social support in undergraduate nursing students’ educational experiences. Nurse Education Today, 33(4), 419–424.

Reyes, A. T., Andrusyszyn, M. A., Iwasiw, C., Forchuk, C., & Babenko-Mould, Y. (2015a). Nursing students’ understanding and enactment of resilience: a grounded theory study. Journal of Advanced Nursing, 71(11), 2622–2633. doi: 10.1111/jan.12730

Reyes, A. T., Andrusyszyn, M. A., Iwasiw, C., Forchuk, C., & Babenko-Mould, Y. (2015b). Resilience in nursing education: An intergrative review. Journal of Nursing Education, 54(8), 438-444.

Sigalit, W., & Sivia, B. (2017). Factors associated with nursing students’ resilience: Communication skills course, use of social media and satisfaction with clinical placement. Journal of Professional Nursing, 33(2), 153–161.

Smith, G. D., & Yang, F. (2017). Stress, resilience and psychological well-being in Chinese undergraduate nursing students. Nurse Education Today, 49, 90–95.

Stephens, T. M. (2013). Nursing student resilience: A concept clarification. Nursing Forum, 48(2), 125-133.

Sawyer, S. M., Azzopardi, P. S., Wickremarathne, D., & Patton, G. C. (2018). The age of adolescence. The Lancet Child & Adolescent Health, 2(3), 223-228.

Taylor, H., & Reyes, H. (2012). Self-efficacy and resilience in baccalaureate nursing students. International Journal of Nursing Education Scholarship, 9(1), 1-13. doi:10.1515/1548-923X.2218

Thanoi, W., Phancharoenworakul, K., Thompson, E. A., Panitrat, R., & Nityasuddhi, D. (2010). Thai adolescent suicide risk behaviors: Testing a model of negative life events, rumination, emotional distress, resilience and social support. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 14(3), 187-202.

Thomas, L. J., & Revell, S. H. (2016). Resilience in nursing students: An integrative review. Nurse Education Today, 36, 457–462.

van Harmelen, A. L., Kievit, R. A., Ioannidis, K., Neufeld, S., Jones, P. B., Bullmore, E., et al. (2017). Adolescent friendships predict later resilient functioning across psychosocial domains in a healthy community cohort. Psychological Medicine, 47(13), 2312–2322. doi:10.1017/S0033291717000836

Vongsirimas, N., Sitthimongkol, Y., Beeber, L. S., Wiratchai, N., & Sangon, S. (2009). Relationship among maternal depressive symptoms, gender differences and depressive symptoms in Thai adolescents. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 13(3), 181-198.

Wolf, L., Stidham, A. W., & Ross, R. (2015). Predictors of stress and coping strategies of US accelerated vs. generic baccalaureate nursing students: An embedded mixed methods study. Nurse Education Today, 35, 201-205.

Zhao, F. F., Guo, Y., Suhonen, R., & Leino-Kilpi, H. (2016). Subjective well-being and its association with peer caring and resilience among nursing vs medical students: A questionnaire study. Nurse Education Today, 37, 108–113.