ผลของโปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับกลุ่มจิตบำบัด แบบประคับประคองต่อระดับความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • เกสร มุ้ยจีน พยาบาลวิชาชีพ กำลังศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มรรยาท รุจิวิชชญ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ชมชื่น สมประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบ, ก้าวหน้า, กลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง, ระดับความซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง, Progressive Muscular RelaxationProgram, Group Supportive Psychotherapy, Depression Levels, Chronic Illness

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ ตรวจสอบผลของโปรแกรมการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับกลุ่มจิตบำบัด แบบประคับประคองต่อระดับความซึมเศร้าของ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการใน แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ อายุ 60 ขึ้นไป ซึ่งได้มาจาก การคัดเลือกแบบจับคู่ (Matched pairs) คัดกรอง ผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินความซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory) ใช้ค่าระดับคะแนน ความซึมเศร้า ตั้งแต่ 10-28 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยใช้ค่าอำนาจในการวิเคราะห์ เท่ากับ 0.80 และค่าของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.34 กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าร่วมกับกลุ่มจิตบำบัด แบบประคับประคองร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละประมาณ 90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตาม ปกติ โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินระดับ ความซึมเศร้าและค่าเฉลี่ย EMG ก่อนและหลัง การทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูล ทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิติพรรณนาคำนวณ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน ระดับความซึมเศร้า และค่าเฉลี่ย EMG ก่อนและ หลังได้รับโปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แบบก้าวหน้าร่วมกับกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับ ประคองและการพยาบาลตามปกติ โดยใช้สถิติ t-test

ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคเรื้อรังกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมมีภาวะซึมเศร้าระดับมาก (2) ค่าคะแนน ความต่างของคะแนนซึมเศร้าและค่าเฉลี่ย EMG ระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและ หลังได้รับโปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบ ก้าวหน้าร่วมกับกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับ ประคองและการพยาบาลตามปกติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการนำ โปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า ร่วมกับกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองไปใช้ กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังในวัยอื่นๆ ต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรมการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบ, ก้าวหน้า, กลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง, ระดับความซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง

 

Abstract

This research was a quasi-experiment design. The objective of this research was to examine the effects of Progressive Muscular Relaxation Program and Group Supportive Psychotherapy on the depression levels of the elderly with chronic illness. The sample consisted of sixty male and female patients at Thammasat Hospital; their ages ranged between 60 years and older. Sample was matched pair by age and type of chronic illnesses. Sample size was calculated with power analysis of0.80 and effect size of 0.34 at p < .05 level, the total was 60 samples (30 samples per group). The experimental group participated in the Progressive Muscular Relaxation Program and Group Supportive Psychotherapy and normal treatment on 4 sessions, each session was 90 minutes, whereas the control group received only normal treatment. The effects of the program were measured by Self-rating Beck Depression Inventory scale and EMG instrument. Data was analyzed by using independent t-test.

Major finding was: (1) there were statistically significant differences of mean score of Self-rating Beck Depression Inventory scale between the experiment and control group (p < .05); (2) there were statistically significant differences of mean score of EMG scores between the experiment and control group (p < .05). This study suggests that offers the elderly with chronic illness patients in the Progressive Muscular Relaxation Program and Group Supportive Psychotherapy not only can bean alternative way of caring but also provides practice guidelines for caring for this group and other patients’ groups.

Keywords : Progressive Muscular Relaxation Program, Group Supportive Psychotherapy, Depression Levels, Chronic Illness

Downloads