ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี

Main Article Content

พัชรินทร์ นินทจันทร์
ทัศนา ทวีคูณ
จริยา วิทยะศุภรม
พิศสมัย อรทัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ความแข็งแกร่งในชีวิต ความเครียด บรรยากาศในครอบครัว สถานะทางการเงิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษารูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปร ประชากรในการศึกษานี้ คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2550 (ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551) จำนวน 566 คน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ทางสถิติและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL for Windows)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 2.00, df = 2, p = .37; GFI = .99; AGFI = .98;RMSEA = .00) เมื่อพิจารณาอิทธิพลของตัวแปรพบว่าบรรยากาศในครอบครัวและสถานะทางการเงินมีอิทธิพลทางตรงไปยังความเครียด (ในทิศทางลบ) และมีอิทธิพลทางตรงไปยังความแข็งแกร่งในชีวิต (ในทิศทางบวก) และพบว่าบรรยากาศในครอบครัวและสถานะทางการเงินมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่าน ตัวแปรความแข็งแกร่งในชีวิตไปยังความเครียด และยังพบว่าความแข็งแกร่งในชีวิตมีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดแต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยส่งอิทธิพลผ่านความเครียด ส่วนความเครียดมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นั่นคือการที่นักศึกษามีความแข็งแกร่งในชีวิตสูงจะมีความเครียดน้อย ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของบุคคลที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต่อไป

คำสำคัญ: ความแข็งแกร่งในชีวิต ความเครียด นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

This study aims to test the casual model of resilience, stress, family atmosphere, financial status, and academic achievement. The study also examines the direct and indirect effects among variables. The target population was 566 nursing students in the undergraduate program, Department of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi hospital, Mahidol University studying during studying during January to March, 2008. Descriptive statistics and correlations among variables were analyzed using statistical software and the model was tested using the LISREL program.

Data analysis shows that the proposed model was fit with the empirical data (χ2 = 2.00, df = 2, p = .37; GFI = .99; AGFI = .98; RMSEA = .00). When considering the influence of study variables, family atmosphere and financial status had the negatively direct effects on stress and had the positively direct effect on resilience. In addition, family atmosphere and financial status had the indirect effects on stress through resilience. Resilience had the direct effect on stress but had the indirect effect on academic achievement through stress. Stress also had the direct effect on academic achievement; that means students with high resilience were less likely stress which leaded to get better academic achievement. Results from this study could be applied to develop the ways to promote resilience of people in early adulthood.

Keywords: resilience/ stress/ nursing students

Article Details

บท
บทความวิชาการ