ผลของพฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก แผนกผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • อัญชรส ทองเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชานุกูล กรุงเทพฯ
  • จินตนา ยูนิพันธ์ุ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมบำบัด, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กออทิสติก, ผู้ดูแลหลัก, การดูแลตามปกติ, behavior therapy, aggressive behavior, children with Autism, caregiver, regular caring activities

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก ออทิสติกก่อนและหลังได้รับพฤติกรรมบำบัด 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติก ระหว่างกลุ่มได้รับพฤติกรรมบำบัดกับกลุ่มที่ ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กออทิสติก อายุ 6-12 ปีและผู้ดูแลหลัก ที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คู่ ได้รับการจับคู่ และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือพฤติกรรมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กออทิสติก สำหรับพยาบาล 2) คู่มือการดูแลเด็กออทิสติก สำหรับผู้ดูแลหลัก 3) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติก 4) แบบวัดความสามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดในเด็กออทิสติกที่บ้านของผู้ดูแลหลัก 5)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้ค่าความสอดคล้องจากการสังเกตแบบประเมินฤติกรรมก้าวร้าว เด็กออทิสติกเท่ากับ .87 ค่าความเที่ยงแบบวัดความสามารถการปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดในเด็กออทิสติกที่บ้านของผู้ดูแลหลักเท่ากับ .71 ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติบรรยาย และ t-test

คำสำคัญ  : พฤติกรรมบำบัด, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กออทิสติก, ผู้ดูแลหลัก, การดูแลตามปกติ

 

Abstract

The purposes of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were: 1) to compare aggressive behavior of children with Autism before and after using the behavior therapy., and 2) to compare aggressive behavior of children with Autism using the behavior therapy and those who received regular caring activities. Forty children with Autism receiving services in outpatient department Rajanukul  Institute, who met the inclusion criteria, were matched pair and then randomly assigned to experimental group and control group, 20 subjects in each group. The experimental group received the behavior therapy program for 4 weeks. The control group received regular caring activities. Research instruments were: 1) behavior therapy in children with Autism manual for nurse 2) manual for caregivers on behavior therapy 3) aggressive behavior assessment scale 4) capability of behavior therapy measurement for caregiver 5) personal data questionnaire. All instruments were content validated by a panel of 5 professional experts. The reliability of aggressive behavior assessment scale were .87, and the capability of behavior therapy measurement for caregivers was 0.71. The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows:

1. Aggressive behavior of children with Autism after using the behavior therapy was significantly lower than those before, at the .05 level.

2. Aggressive behavior of children with Autism who received behavior therapy was significantly lower than those who received regular caring activities, at the .05 level.

Keywords  : behavior therapy, aggressive behavior,  children with Autism, caregiver, regular caring activities

Downloads