ผลของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ

Main Article Content

ดวงตา กุลรัตนญาณ
กาญจนา สุทธิเนียม
ชลพร กองคำ
จงรัตน์ สุวัฒนปรีดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภทที่ดื่มน้ำมากผิดปกติ (PIP) ประชากร ที่ศึกษา เป็นผู้ป่วยจิตเภทที่รับใหม่ทุกราย ที่รับไว้รักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 31 พฤษภาคม 2554 จำนวน 1,437 ราย ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อดื่มน้ำมากผิดปกติ ซึ่งคำว่าดื่มน้ำมากผิดปกติ หมายถึง การที่ผู้ป่วยจิตเภทเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการดื่มมากกว่า 3 ลิตร ต่อวันเป็นระยะเวลานานจำนวน 48 ราย และได้ รับการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการ พยาบาลการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ดื่มน้ำมาผิดปกติ (PIP)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการคัดกรองกลุ่ม เสี่ยงต่อการดื่มน้ำมากผิดปกติ เป็นเพศชาย 929 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.64 และเพศหญิงจำนวน 508 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.36 ผลการคัดกรอง อาการดื่มน้ำมากผิดปกติ (PIP Screening Test) พบว่า

1.1 ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการคัดกรอง เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการดื่มน้ำมากผิดปกติ จำนวน 48 ราย เป็นเพศชายจำนวน  31 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.58 และเพศหญิง จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.42 แบ่งออกเป็น กลุ่มที่มีความเสี่ยงรุนแรงมาก(Intensive) จำนวน 10 ราย เป็นเพศชาย 6 ราย หญิง 4 ราย กลุ่มที่มีความเสี่ยงรุนแรงปานกลาง (Intermediated) จำนวน 12 ราย เป็นเพศชาย 8 ราย หญิง 4 ราย และกลุ่มที่มีความเสี่ยงรุนแรง น้อย (Prevention) จำนวน 26 ราย เป็นเพศชาย 17 ราย หญิง 9 ราย และไม่มีความเสี่ยงต่อการ ดื่มน้ำมากผิดปกติ 1,389 ราย

1.2 พบปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มที่มีความ เสี่ยงรุนแรงน้อย ได้แก่ อยากบุหรี่ซ้ำๆ จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.77 อาการทางจิต เปลี่ยนแปลง จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.38 พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง จำนวน 20 ราย คิดเป็น ร้อยละ 76.92 ได้รับยาจิตเวช 3 ขนานขึ้นไป จำนวน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.46 กลุ่มที่มี ความเสี่ยงรุนแรงปานกลาง ได้แก่ น้ำหนักตัว เพิ่มในช่วงบ่าย ≥ 4% จำนวน 12 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100 และ ค่า Sp.gr. ≤ 1.008 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.33 และกลุ่มที่มีความ เสี่ยงรุนแรงมาก ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มในช่วงบ่าย ≥ 5% จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และค่า Na+ < 130 mEq/L จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 80

1.3 ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการคัดกรอง เป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ ภายหลัง ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ไม่เกิดภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ

คำสำคัญ : ภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ, ผู้ป่วยจิตเภท

 

Abstract

The purpose of this study is to observe the effects of the screening tool and utilization of Clinical Nursing Practice for prevention on Psychosis–intermittent hyponatremia–polydipsia syndrome.  The samples were 48 schizophrenic‘s patients who had a risk of Psychosis – intermittent hyponatremia–polydipsia syndrome and were admitted in Sondet Chaopraya Institute of Psychiatry between 1st Oct, 2010 – 31st May, 2011 (1,437 cases). Everyone in the high risk group sample (48 cases) went through the Screening Test and use Clinical Nursing Practice for Psychosis – intermittent hyponatremia–polydipsia syndrome. The results were as follows:

1. The high risk group of Psychosis– intermittent hyponatremia–polydipsia syndrome were male 929 cases (64.64%), female 508 cases (35.36%) and The subjects were divided into 3 groups by screening tool. The first group was Prevention (26 cases), the second group was Intermediate (12cases) and the third group was Intensive (10 cases).

2. Historically the main risk factors in Prevention group were want to smoke cigarettes or, be tobacco dependency smoke 8 cases (30.77%), behavior change 17 cases (76.92%), psychological change 22 cases (65.38 %), Had Antipsychotic drug 3 type 22 cases (88.46%) drink waters > 3000 ml/day 22 cases (88.46 %), Intermediated group were weight gained ≥ 4% 12 cases (100%) and Sp.gr. ≤ 1.008 8 cases (83.33%), Intensive group were weight gained ≥ 5% 10 cases (100%) and Na+ < 130 mEq/L 8 cases (80%).

3. The high risk group after using the Clinical Nursing Practice Guideline and can prevent totally relapse of PIP.

Keywords : Psychosis – intermittent hyponatremia – polydipsia syndrome. (PIP), schizophrenic’s patients

Article Details

บท
บทความวิจัย