ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

Main Article Content

น้ำทิพย์ วิชาชัย
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการการให้คำปรึกษาครอบครัว 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่ได้รับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คนและได้รับการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม6 ครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การแก้ปัญหา การสื่อสาร บทบาทหน้าที่ การตอบสนองทางอารมณ์ ความผูกพันทางอารมณ์และการควบคุมพฤติกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยแบบประเมินทั้ง 2 ชุด ได้หาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .81

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : พฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, วัยรุ่นโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว

 

Abstract

The purposes of this quasi-experimentalresearch were: 1) to compare the suicidal riskbehaviors of adolescents before and after receivedthe family counseling program, and 2) to comparethe suicidal risk behaviors of adolescents whoreceived the family counseling program and thosewho received regular caring activities. Fortyadolescence patients receiving services in inpatientdepartment, Lopburi, who met the inclusion criteria,were matched pair and then randomly assigned toexperimental group and control group, 20 subjectsin each group. The experimental group receivedthe family counseling program composed of6 group activities to improve relevant skillsincluding problem solving, communication, roles,affective responsiveness, affective involvementand behavior control. The control group receivedregular caring activities. Research instruments were: 1) the family counseling program, 2) TheSuicidal Idea Scale, and 3) The SuicidalBehaviors Scale. All instruments were validatedfor content validity by 5 professional experts.The Chronbach’s Alpha coefficient reliabilityof the two scales were both .81. The t-test wasused in data analysis. Major findings were asfollows:

1. The suicidal risk behaviors ofadolescents who received the family counselingprogram was significantly lower than that before,at p .05 level.

2. The suicidal risk behaviors of adolescentswho received the family counseling programwas significantly lower than those who receivedregular caring activities at p .05 level.

Keywords : Suicidal behaviors, adolescents, family counseling program

Article Details

บท
บทความวิจัย