ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อแหล่งพลังอำนาจ ความมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหญิง

Main Article Content

นิตยา เจริญยุทธ
กชพงศ์ สารการ
หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบแหล่งพลังอำนาจ ความมีคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและได้รับการดูแลแบบปกติ ในระยะติดตามผลทันทีระยะติดตามเดือนที่ 1 และระยะติดตามเดือนที่2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทหญิงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 คน จัดกลุ่มตัวอย่างให้เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินแหล่งพลังอำนาจ 3) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 4) แบบประเมินพฤติกรรมดูแลตนเองและ 5) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางเมื่อมีการวัดซ้ำ

ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้

1. คะแนนแหล่งพลังอำนาจ ของผู้ป่วยจิตเภทหญิงในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยคะแนนแหล่งพลังอำนาจของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทันที

2. คะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหญิงในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยคะแนนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทันที ในระยะติดตามผล เดือนที่ 1 และเดือนที่ 2

คำสำคัญ : การเสริมสร้างพลังอำนาจ, แหล่งพลังอำนาจ, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, พฤติกรรมดูแลตนเอง, ผู้ป่วยจิตเภท

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research was to compare empowerment resource; self-esteem and self care behavior between patients with schizophrenia receiving an empowerment program and patients with schizophrenia receiving regular care; immediately, 1 month and 2 month after finishing the program. Thirty female patients with schizophrenia who were admitted at the inpatient department in Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital, Ubon Ratchathani Province, were purposively selected and assigned to experimental group and control group: fifteen in each group. The experimental group received the empowerment program whereas the control group received regular nursing care. Research instruments consisted of 1) instruments for collecting demographic data, 2) the Empowerment Resource Assessment questionnaires, 3) the Self-esteem Assessment, 4) the Self-care Behavior Assessment and 5) the instrument for conducting research: the empowerment program. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test and Two-way repeated measure ANOVA.

Major findings were as follows:

1. Empowerment resource score of female patients with schizophrenia was significantly difference over time between the experimental and control groups (p < .05). Obviously, empowerment resource of the experimental group significantly increased at immediately after receiving the empowerment program.

2. Self-esteem and self care behavior score of female patients with schizophrenia was significantly difference over time between the experimental and control groups (p < .05). Selfesteem and self care behavior of the experimental group significantly increased at immediately, follow-up 1st month and follow-up 2nd month after receiving the empowerment program.

Keywords : Empowerment program, empowerment resource, self-esteem, self care behavior, schizophrenia

Article Details

บท
บทความวิจัย