การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการจัดการพฤติกรรม การดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ คงสัตย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
  • ศิริภรณ์ ชัยศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
  • สวัสดิ์ เที่ยงธรรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุรา, การจัดการกับพฤติกรรมการดื่ม, program of empowerment, alcohol dependence patient, management with drinking behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุราด้านการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา และทดสอบผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุราด้านการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประยุกต์แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson (1993) ร่วมกับแนวคิดการเผชิญปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของ Varghese et al. (2002) แนวคิดการกำกับตนเองของ Miller & Brown (1991) และแนวคิดเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคมของ Schaefer et al. (1981) มาเป็นกรอบในการกำหนดเนื้อหาของโปรแกรม ขั้นตอนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4ขั้นตอน คือ 1) ทบทวน วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการดื่มของผู้ป่วยโรคติดสุรา 2) พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุราด้านการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา 3) ทดลองใช้โปรแกรม และ 4) ประเมินผลการใช้โปรแกรม โดยใช้การทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คนได้รับการดูแลตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คนได้รับการดูแลตามโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุราด้านการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการจัดการพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า

1. โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุราด้านการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มสุราระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุราที่พัฒนาขึ้น มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา หัวข้อความรู้แต่ละหัวข้อตามโปรแกรมมีความสอดคล้องระหว่างหัวข้อความรู้และวัตถุประสงค์โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6–1.0 เนื้อหาในโปรแกรมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การทำความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุราและความจำเป็นที่ต้องแก้ไขพฤติกรรมการดื่มสุรา การเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุรา และการรู้จักใช้แหล่งสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นต่อการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุรา กิจกรรมตามโปรแกรม ทั้งหมด 7 กิจกรรม จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 60 นาที เป็นเวลา 2 สัปดาห์

2. ผลการทดสอบโปรแกรม พบว่า การจัดการกับพฤติกรรมการดื่มระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุราของกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 4 และ 12 สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจัดการกับพฤติกรรมการดื่มในระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุราของกลุ่มที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุรามีประสิทธิผลในการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุราในระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุราได้

คำสำคัญ : โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยโรคติดสุรา, การจัดการกับพฤติกรรมการดื่ม

 

Abstract

The purposes of this research and development were to develop and evaluate the empowerment program on alcohol drinking behavior management of alcohol dependence patients. The conceptual frameworks were developed from empowerment concept, effectiveness of coping, Self regulation and social supporting system. Four processes were: 1) Situation analysis of alcohol dependence care service system was reviewed, 2) The empowerment program was developed, 3) The empowerment program was implemented, and 4). The empowerment program was evaluated. The hypothesizes were tested by using one-way ANOVA repeated measure. Conclusions were:

1) The content of the program is valid. The Item Objective Congruence(IOC) coefficients ranged between 0.6-1.0. Three topics of knowledge consisted of learning about effects of alcohol drinking with addiction, empowerment improving to deal with drinking behavior, and how to help seeking from other supporting system for management with drinking behavior. The program consisted of seven activities, four times training (60 minutes/time) within 2 weeks.

2) The management with drinking behavior on alcohol dependence patients at 4th week and 12th week after receiving program was significantly increased at the level .05.

3) The management with drinking behavior at 4th week and 12th week after receiving program on alcohol dependence patients in the experimental group was significantly higher than those in the control group at the level .05.

This study suggested that the empowerment program of alcohol dependence patients has effected with controlling alcohol drinking behavior management.

Key words : program of empowerment, alcohol dependence patient, management with drinking behavior

Downloads