ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • รัชนี อุทัยพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มภารกิจบริการทางการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา, Schizophrenic Patients in Community, Motivational interviewing, Medication Compliance

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่ม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภทที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 40 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยการจับคู่ด้วยระยะเวลาในการเจ็บป่วยและคะแนนอาการทางลบ กลุ่มทดลองได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา3) แบบวัดแรงจูงใจในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท และ 4) แบบสอบถามขั้นบันไดของแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 หาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .85 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มสูงกว่าก่อนได้รับการสัมภาษณ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยา สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research were: 1) to compare medication compliance of schizophrenic patients before and after receiving the group Motivational Interviewing, and 2) to compare medication compliance of schizophrenic patients who received group Motivational Interviewing and those who received regular caring activities. The test subjects were forty schizophrenic patients that received services in the outpatient department of Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital who met the inclusion criteria. They were matched in pairs and then randomly assigned to experimental groups and control groups with 20 subjects in each group. The research instruments consisted of: 1) the group Motivational Interviewing, 2) Compliance Behaviors Assessment Scale, 3) Motivation enhancement on medication compliance behavior in schizophrenic patients, and 4) Stage of Change Assessments. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 2 and 3 instruments were reported by Cronbach’s Alpha coefficient of .85 and .83. Data was analyzed using Descriptive statistics and t-test.

Major findings were as follows:

1. The medication compliance of schizophrenic patients who received the group Motivational Interviewing was significantly higher than that before, at p .05 levels.

2. The medication compliance of schizophrenic patients who received the group Motivational Interviewing was significantly higher than those who received regular caring activities at p .05 levels.

Keywords : Schizophrenic Patients in Community, Motivational interviewing, Medication Compliance

Downloads