ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สุราของประชาชน ในเขตตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์
สาริณี โต๊ะทอง
วรารัตน์ ประทานวรปัญญา
อภิรดี ขุนฉนมฉ่ำ
ปาริชาติ แว่นไวศาสตร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สุราของประชาชนในเขตตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตตำบลบางกร่าง อ.เมือง จังหวัดนนทบุรี กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Yamane ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มสุรา และ แบบประเมินความเสี่ยงการดื่มสุรา หรือ แบบประเมิน AUDIT (Alcohol Use Disorders Identification Test) แบบทดสอบดังกล่าวได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง โดยมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 และ 0.71 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของแคลมเมอร์ (Cramer’s V Coeffi-cient)

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีพฤติกรรมการดื่มสุราแบบเสี่ยงหรืออันตราย โดยพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครอบครัว สถานภาพรายได้ของครอบครัวสถานภาพในครอบครัว บทบาทในครอบครัว ระยะเวลาการดื่ม ความเชื่อเกี่ยวกับการดื่ม และศาสนาที่นับถือ

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นมูล พื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือเพื่อลดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการใช้สุรา รวมถึงการส่งเสริมวิธีการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมให้แก่ประชาชนในเขตตำบลบางกร่างต่อไป

คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้สุรา

 

Abstract

The purpose of this descriptive study was to explore factors associated with alcohol consumption behaviors of people in Bangkrang sub district, Muang district, Nonthaburi Province. Three hundred and ninety-one people resided in Bamgkrang sub district participated in this study. This sample size was calculated by using. Yamane’s formula. Questionnaires regarding personal data (i.e. gender, occupation, age, religion, status, educational level, income and number of family members) and AUDIT (Alcohol Use Disorder Identification Test) were used to collect data. The alpha cronbach’s coefficients of these two instruments were 0.94 and 0.71. Descriptive statistics, frequency, percentage, mean standard diviation and Cramer’s V Coefficient were employed to analyze the data.

The results obtained from this study revealed that most of the people in Bangkrang sub district, Muang district, Nonthaburi Province reported alcohol consumption behavior at risk or dangerous levels. The results confirm that there was statistically significant differences at the p<0.05 level between age, the marital status, educational level, occupation, the family income, the family status, the role in family, the period of time of drinking, the belief about drinking and religion are associate with alcohol consumption behaviors.

The study findings could be utilized as the baseline data to the plan for decrease the factors which related with alcohol consumption behavior. Furthermore, to promote the appropriate of coping behavior for the people in Bangkrang subdistrict.

Key word : Alcohol Consumption Behaviors

Article Details

บท
บทความวิจัย