ปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ติดสุราที่บำบัดรักษา ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทราจิตต์ ศักดา พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • สมควร จุลอักษร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • วิภาวี จันทมัตตุการ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • คนึงนิตย์ วิชัยดิษฐ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • กันยารัตน์ แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ชุติมา สุขห่อ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย, ผู้ติดสุรา, attempted suicide, alcohol dependents

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

พฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายในผู้ติดสุรานับเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงอย่างหนึ่งทางสาธารณสุขก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตผู้ป่วย ทีมบุคลากรผู้ดูแลต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และพัฒนาแนวทางช่วยเหลือให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการศึกษาปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตายของผู้ติดสุราที่บำบัดรักษาในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความหมายการฆ่าตัวตายในผู้ติดสุรา (2) เหตุผลของการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ติดสุรา และ (3) ความต้องการการช่วยเหลือด้านสุขภาพของผู้ติดสุราที่พยายามฆ่าตัวตายจากทีมสุขภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2551 ถึง เดือน เมษายน 2552 โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกด้วยคำถามปลายเปิดแบบมีแนวทาง และบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของ ศิริพร จิรวัฒน์กุล (2546)

ผลการวิจัย พบว่า การให้ความหมายการฆ่าตัวตายมี 3 ประการ ได้แก่ (1) การหลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ และการหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานใจ ร้อยละ 73.33 (2) การไปเพื่อไม่ต้องการให้ใครเดือดร้อน ร้อยละ 20.00 และ (3) เป็นการไถ่บาป ร้อยละ 6.67 ด้านเหตุผลของการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ติดสุรามี 4 ประการ ได้แก่ (1) รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้ค่า และหมดหนทาง ร้อยละ 46.67 (2) รู้สึกน้อยใจ เสียใจ คิดว่ามารดาหรือคนอื่นๆ ไม่ยุติธรรม ร้อยละ 26.67 (3) มีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน ร้อยละ 20.00 และ (4) ประชดมารดา ร้อยละ 6.67 ส่วนความต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพของผู้ติดสุราที่พยายามฆ่าตัวตายจากทีมสุขภาพมี 4 ประการ ได้แก่ (1) ช่วยเหลือให้หายจากโรค ช่วยให้จิตใจเข้มแข็ง ร้อยละ 46.67 (2) ช่วยหาวิธีการให้เลิกเหล้าได้ ร้อยละ 26.67 (3) ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจ ร้อยละ 20.00 และ (4) ช่วยให้คำปรึกษาหลังออกจากโรงพยาบาล ร้อยละ 6.67

ผลการวิจัยครั้งนี้ นำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานและการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดสุราที่พยายามฆ่าตัวตายอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้วยคุณภาพสูงสุด

คำสำคัญ : ปรากฏการณ์การพยายามฆ่าตัวตาย, ผู้ติดสุรา

 

Abstract

Alcoholic who were attempted suicide is recognized as serious psychiatry’s and there is higher risk for life; therefore, health team could be increased effectiveness to care and develop system. The purposes of this descriptive research were: (1)to study meaning of suicide in alcoholic, (2) reasons of suicide attempts in alcoholic, and (3) health care need in alcoholic who were attempted suicide. Fifteen informants were purposively selected. Data were collected from October 2008 to April 2009 using in-depth interviews with tape-recorded. Data were analyzed by Siriporn’s guideline (2004).

The findings demonstrated that the meaning of suicide consisted of three themes: (1) the release from all problems and release from mind suffering (73.33%). (2) do not put the other in trouble (20.00%); and 3) for redeem (6.67%). The reasons of suicide attempts in alcoholic consisted of four themes: (1) burnout, discouragement, hopeless, low self-esteem, and be driven to the wall (46.67%). (2) waspish and think that a mother and others under the belt (26.67%). (3) hallucination (20.00%); and (4) be sarcastic a mother (6.67%). The need for health care of alcoholic who were attempted suicide consisted of four themes: (1) being recover from the disease, strengthening mind, and being healthy (46.67%). (2) seeking the way quits to drink (26.67%). (3) enhancing family understanding (20.00%); and (4) giving consult after discharge (6.67%).

Finding from this study can be used in planning and developing model of care in alcoholic who were attempted suicide. The management for more quality of care is also recommended.

Keyword : attempted suicide, alcohol dependents

Downloads