อารมณ์เหงากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ

Main Article Content

มธุรส สว่างบำรุง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ (เชิงสำรวจ) 2) ความหมายอารมณ์เหงาในทัศนะของผู้สูงอายุ (เชิงคุณภาพ) 3) ปัจจัยการเกิดอารมณ์เหงาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ (เชิงคุณภาพ) และ4) ความเชื่อมโยงอารมณ์เหงากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ (เชิงคุณภาพ)


วิธีการศึกษา: งานวิจัยผสานวิธี ประเภทเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 155 คน โดยวิธีการเลือกแบบบังเอิญ  เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเชิงลึก  และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การวิเคราะห์แบบอุปนัยและเนื้อหา


ผลการศึกษา: พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.6 มักเกิดอารมณ์เหงาเมื่ออยู่ตามลำพัง คิดเป็นร้อยละ 92.6 สาเหตุหลักของการเกิดอารมณ์เหงา คือ การอาลัยถึงการเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 56.4 ผลเชิงคุณภาพ พบว่า อารมณ์เหงาในทัศนะของผู้สูงอายุ หมายถึง อารมณ์ว่างเปล่าจากสังคม เป็นลักษณะขาดการติดต่อกับสังคม ไร้เพื่อนคู่สนทนาก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง ทั้งนี้มีรูปแบบอารมณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่มีสภาวะคงที่ และต่อเนื่องเป็นระยะๆ ผสมผสานกับอารมณ์หงุดหงิด ว้าเหว่ เครียด และเศร้า ปัจจัยการเกิดอารมณ์เหงาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ ปัจจัยครอบครัว ปัจจัยสังคม ปัจจัยเศรษฐกิจ ปัจจัยสุขภาพ และปัจจัยที่พึ่งทางพุทธศาสนา ความเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์เหงากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ มีนัยยะเชิงซ้อนทางบวก 3 มิติ คือ เชิงสุขภาพจิต เชิงสุขภาพกาย  และเชิงสังคม ซึ่งอารมณ์เหงากับการท่องเที่ยวจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อกันในรูปแบบของการย้อนกลับและความต่อเนื่องคงอยู่ของพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุต่อไป


สรุป: วัยผู้สูงอายุยุคสมัยใหม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอารมณ์เหงาจากปัจจัยร่วมต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2556). สุขภาพสูงวัยดูแลได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

กำลังพุทธภูมิ. (2559). หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เหงาขาดหลักยึด ใจไม่ถึงพระรัตนตรัย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก https://www.facebook.com/dhammagraphic/photos/

โครงการสุขภาพคนไทย. (2561). พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ. สุขภาพคนไทย 2561. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

รัถยานภิศ พละศึก และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ต้นแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3),135-150.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น – วัยสูงอายุ เล่ม2. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย วิริภิรมย์กูล, ดลพัฒน์ ยศธร, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, และกวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์. (2558). สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ : กรณีศึกษา อำเภอท่ามะกาและอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี.วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 11(14), 24-42.

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาดา คำสุชาติ. (2560). ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(6), 1156-1164.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). คุณเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข ?.สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561, จาก https://resource.thaihealth.or.th/library/hot/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สังคมสูงวัย กับการปันผลทางประชากร. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/Lists/Infographic/Attachments/51

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป). มองครอบครัวไทย ในมุมของข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561, จาก https://service.nso.go.th/nso/web/article/article_83.pdf

Adu-Bediako, I. (2013). Causes and interventions of loneliness and isolation on wellbeing of older adults in Finland. Retrieved July 19, 2018, from https://www.theseus.fi/bitstream/handle/

Chan, A., Raman, P., Ma, S., & Malhotra, R. (2015). Loneliness and all-cause mortality in community-dwelling elderly Singaporeans. Demographic Reseach, 32(49), 1361-1382. Doi. 10.4054/DemRes.2015.32.49

Chang, P-J., Wray, L., & Lin, Y. (2014). Social relationships, leisure activity, and health in older adults. Health Psychology, 33(6), 516 –523. doi: 10.1037/hea0000051

Community Development Halton. (2016). Seniors: Loneliness and social isolation. Retrieved January 3, 2017, from https://cdhalton.ca/images/pdf/Seniors-Loneliness-and-Social-Isolation.pdf

Gerrig, R. J., & Zimbardo, P. G. (2005). Psychology and life. (7 th ed). Boston, MA: Pearson.

Haney, M.O., Bahar, Z., Beser, A., Acil, D., Yardimci, T., & Comez, S. (2017). Factors related to loneliness among the elderly living at home in Turkey. Turkish Journal of Family Medicine and Primary Care, 11(2), 71-78. doi:10.21763/tjfmpc.317717

Morgan, N., Pritchard, A., & Sedgley, D. (2015). Social tourism and well- being in later life. Annals of Tourism Research, 52, 1-15. Retrieved July 18, 2018, from https://doi.org/10.1016/j.annals.2015

Newall, N. E. G., & Menec, V. H. (2017). Loneliness and social isolation of older adults why it is important to examine these social aspects together. Journal of Social and Personal Relationships, 36(3), 925–939. Doi: https://doi.org/10.1177/0265407517749045

Ribeiro, M.I., Rodrigues, C., Goncalves, C., & Sousa, V. (2014). Loneliness and depression in the institutionalized elderly. Retrieved July 18, 2018, from https://hdl.handle.net/10198/11494

Santrock, J. W. (2003). Psychology. (7th ed). New York: McGraw-Hill.

Sharma, P., & Dube, S. (2015). Loneliness in ageing. International Journal of Science and Research (IJSR), 4(6). Retrieved June 20, 2017, from https://www.ijsr.net/archive/v4i6/SUB155226.pdf

Singh, A., & Misra, N. (2009). Loneliness, depression and sociability in old age. Industrial Psychiatry Journal, 18(1), 51–55. doi: 10.4103/0972-6748.57861

Zambianchi, M. (2017). Positive aging, positive psychology and tourism. A challenging new area of investigation?. Journal of Tourism, Culture and Territorial Development, 8(15). doi: 10.6092/issn.2036-5195/6700