ความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา วนาลีสิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • วิลาวรรณ คริสต์รักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ไผโรส มูฮัมหมัดสกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักเรียนมัธยมศึกษา, ภาคใต้ตอนล่าง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่เข้าร่วมงานสัปดาห์ ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 261 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความแข็งแกร่งในชีวิตของพัชรินทร์ นินทจันทร์และคณะ จำนวน 28 ข้อ ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทีอิสระ ความแปรปรวนทางเดียว ไคสแควร์ และครัสคอลวอลลิส

ผลการศึกษา: 1)นักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีความแข็งแกร่งในชีวิต อยู่ในระดับคะแนน 73 - 140 คะแนน (Mean = 114.52, SD = 12.01) และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบ 3 ด้านของความแข็งแกร่งในชีวิต พบว่า ค่าคะแนนสูงสุดคือองค์ประกอบด้าน I have (Mean = 4.20, SD = .18)หรือ (Min = 48, Max = 68, Mean = 61.60, SD = 3.87) ด้าน I am (Mean = 4.13, SD = .13) หรือ (Min = 25, Max = 50, Mean = 41.11, SD = 4.60) และ ด้าน I can (Mean = 3.98, SD = .13) หรือ (Min = 21, Max = 74, Mean = 35.72, SD = 4.88) ตามลำดับ 2) ปัจจัยการมีโรคประจำตัว การรับรู้อาชีพของบิดา และการรับรู้อาชีพของมารดาของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่แตกต่างกันมีความแข็งแกร่งในชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 77.217, p = .032; t = 8.162, p = .017; t = 5.663, p = .050)

 สรุป: ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเพิ่มพูนหรือสนับสนุนการมีความแข็งแกร่งในชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง สำหรับครูและผู้ปกครองของนักเรียนได้

References

ขวัญจิต มหากิตติคุณ, วีณา คันฉ้อง, และพิเชษฐ์ สุวรรณจินดา. (2559). ความสุขของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(1), 87-97.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2556). การประยุกต์ใช้หลักคำสอนทางศาสนาในการดำเนินชีวิตของเยาวชนไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 9(1), 95-125.

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์, สกล วรเจริญศรี และปริญญา มีสุข. (2560). ความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 512-529.

นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์. (2559). ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการฟื้นพลังของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 253-263.

นันทนพ เข็มเพชร. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 186-199.

นิรมล สุวรรณโคตร, อัจฉรา วัฒนาณรงค์, และ นิภา ศรีไพโรจน์. (2555). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 134-141.

นงค์ลักษณ์ วิชัยรัมย์, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ชนัดดา แนบเกษร, และเวทิส ประทุมศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวด้านจิตสังคมและการมองโลกทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 65-75.

บังอร เทพเทียน, ปรินดา ตาสี, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์, และสุภัทรา อินทร์ไพบูลย์. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มแข็ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 6(2), 25-38.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภร, และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, วารีรัตน์ ถาน้อย, โสภิณ แสงอ่อน, มาณวิภา พัฒนมาศ, และช่อทิพย์ อินทรักษา. (2560). ปัจจัยทำนายความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่นกลุ่มด้อยโอกาส. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31,(1), 13-28.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน, ลัดดา แสนสีหา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 430-443.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). โปรแกรมการสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญานนท์ งามเฉลียว และวดี อัมรักเลิศ. (2556). พัฒนาการทางด้านจิตใจและสังคมในวัยรุ่น. ใน พิชญานนท์ งามเฉลียว, วดี อัมรักเลิศ, และธารทิพย์ แสงสุวรรณ์ (บรรณาธิการ), การดูแลสุขภาพสำหรับ 3 รุ่นอายุ: วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ (หน้า 13-28). สงขลา: บัยตุลพริ้นติ้ง.

พิมลพรรณ อิศรภักดี. (2560). ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนไปอย่างไรในกว่า 20 ปีที่ผ่านมา. จดหมายข่าวประชากรและการพัฒนา, 37(4), 6-7. สืบค้นจาก http://www.newsletter.ipsr.mahidol.ac.th

เพ็ญประภา สุธรรมมา และมยุรฉัตร กันยะมี. (2557). ความรุนแรงต่อคู่รักวัยรุ่น: ความท้าทายสำหรับพยาบาลสาธารณสุข. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(1), 247-257.

มะลิวรรณ วงษ์ขันธ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 57-75.

มรรยาท รุจิวิทย์. (2548). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รสวันต์ อารีมิตร. (2555). พัฒนาการด้านจิตใจและสังคมของวัยรุ่น. ใน วิโรจน์ อารีกุล, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี, สุริยเดว ทรีปาตี, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, รสวันต์ อารีมิตร, จิราภรณ์ ประเสริฐวิทย์, และคณะ (บรรณาธิการ), พัฒนาการและการเจริญเติบโตของวัยรุ่น (หน้า 19-22). กรุงเทพมหานคร: เอ-พลัส พริ้น.

ศลักษณา กิติทัศน์เศรณี, สุปาณี สนธิรัตน, และทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูของบิดามารดากับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(1), 36-46.

สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย. (2556). ครอบครัวไทยในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน. จดหมายข่าวครอบครัวศึกษา, ฉบับพิเศษ, 17-23. สืบค้นจาก http://www.thaifamilystudy.com

สุวิณี ภารา. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague: The Bernard van Leer Foundation.

Howella, K. H. & Miller-Graff, L. E. (2014). Protective factors associated with resilient functioning in

Mehrotra, S., & Chaddha, U. (2013). A correlational study of protective factors, resilience and self esteem in pre medical dropouts. International Journal of Humanities and Social Science Invention, 9(2), 103-106.

Muslim adolescent students in India. Europe’s Journal of Psychology, 7(4), 716-738.

Narayanan, A. & Abeer, M. (2011). Islamic worldview, religious personality and resilience among young adulthood after childhood exposure to violence. Child Abuse & Neglect, 38, 1985-1994.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-26