ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยจิตเภท

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ เจริญผล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โสภิณ แสงอ่อน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรินทร์ นินทจันทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, ทัศนคติต่อการรักษาด้วยยา, ระยะเวลาการเจ็บป่วย, ผลข้างเคียงจากยา, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างเพศ ทัศนคติต่อการรักษาด้วยยา ระยะเวลา การเจ็บป่วย จำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล ความถี่ของการรับประทานยาต่อวัน และผลข้างเคียงจากยากับความร่วมมือในการรักษา ด้วยยาในผู้ป่วยจิตเภท

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นแบบบรรยาย ความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งเพศชาย และเพศหญิงจำนวน 73 คน ที่ได้รับการวินิจฉัย จากแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเภท ที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ในความรับผิดชอบ ของอำเภอหนึ่งในภาคกลางระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินอาการทางจิต 2) แบบคัดกรองหมวดหมู่ 3) แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อ การใช้ยาต้านโรคจิต 5) แบบสัมภาษณ์การประเมิน ความถี่การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาในผู้ป่วย จิตเภท และ 6) แบบสอบถามความร่วมมือในการ รักษาด้วยยาในผู้ป่วยจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา: ทัศนคติต่อการรักษาด้วยยา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการ รักษาด้วยยาในผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ส่วนเพศ ระยะเวลาการเจ็บป่วย จำนวนครั้ง ของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความถี่ของ การรับประทานยาต่อวัน และผลข้างเคียงจากยา ไม่พบความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษา ด้วยยาในผู้ป่วยจิตเภท ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถ นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริม ให้ผู้ป่วยจิตเภทมีความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). แบบประเมินอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating Scale. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.dmh. go.th/report/report1.asp.

กรมสุขภาพจิต. (2554). ผู้ป่วยนอกจิตเวชใน หน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.dmh. go.th/report/report1.asp.

กรมสุขภาพจิต. (2556). ผู้ป่วยนอกจิตเวชใน หน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.dmh. go.th/report/report1.asp.

จารุวรรณ ขันติสุวรรณ. (2528). การศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความ ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณชพัฒน์ อัศวรัชชนันท์. (2554). ทัศนคติและ พฤติกรรมการใช้บริการเครื่องจำหน่ายน้ำดื่ม แบบหยอดเหรียญของผู้พักอาศัยในอพาร์ทเม้นท์ ในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การให้ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย จิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีระ ลีลานันทกิจ. (2550). โรคจิตเภทกับกลุ่ม อาการนิวโรเล็พติกที่ร้ายแรง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพวรรณ เอกสุวีรพงษ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยใน โรคจิตเภท โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ภาควิชา เภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปฐมพร เขียวบุตร. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของ ผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. การศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง ส.ม. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิเชษฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สาธุพร พุฒขาว. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและ การพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สายรุ้ง จันทร์เส็ง. (2548). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่ เป็นโรคจิตเภทในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและ การพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมภพ เรืองตระกูล. (2553). ตำราจิตเวชศาสตร์ พื้นฐานและโรคทางจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

หทัยรัตน์ มูลารัตน์เสถียร. (2555). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วย ยาต้านโรคจิตของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาล สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการจัดการเภสัชกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Abel, K. M., Drake, R., & Goldstein, J. M. (2010). Sex differences in schizophrenia. International Review of Psychiatry, 22(5), 417-428.

Bressington, D., Mui, J. & Gray, R. (2012). Factors associated with antipsychotic medication adherence in community-based patients with schizophrenia in Hong Kong. International Journal of Mental Health Nursing, 22, 35-46.

Buckley, P. F., Wirshing, D. A., Bhushan, P., Pierre, J. M., Resnick, S. A., & Wirshing, W. C. (2007). Lack of insight in schizophrenia impact on treatment adherence. CNS Drugs, 21(2), 129 - 141.

Canas, F., Alptekin, K., Azorin, J. M., Dubois, V., Emsley, R., Garcia, A. G., et. al. (2012). Improving treatment adherence in your patients with schizophrenia. Clinical Drug Investigation, 33(2), 97 - 107.

Chan, K. W., Hui, L. M., Wong, H. Y., Lee, H. M., Chang, W. C., & Chen, Y. H. (2014). Medication adherence knowledge about psychosis and insight among patients with schizophrenia - spectrum disorder. The Journal of Nervous and Mental Disease, 202(1), 25-29.

Chandra, I. S., Kumar, K. L., Reddy, M. P., & Reddy, C. M. P. (2014). Attitudes toward medication and reasons for non-compliance in patients with schizophrenia. Indian Journal of Psychological Medicine, 36, 294-298.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Dassa, D., Beyer, L., Benoit, M., Bourcet, S., Raymondet, P., & Bottai, T. (2010). Factors associated with medication non-adherence in patients suffering from schizophrenia. Australian and New Zealand Journal of Psychiatry, 44, 921-928.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Grossman, L. S., Harrow, M., Rosen, C., Faull, R., & Strauss, G.P. (2008). Sex difference in schizophrenia and other psychotic disorders. Comprehensive Psychiatry, 49(6), 523-529.
Jonsdottir, H., Opjordsmoen, S., Birkenaes, A.B., Simonsen, C., Engh, J.A., Ringen, P.A., et al. (2013). Predictors of medication adherence in patients with schizophrenia and bipolar disorder. Acta Psychiatrica Scandinavica, 127, 23-33.

Isaacs, B., & Kennie, A. T. (1973). The set test as an aid to the detection of dementia in old people. The British Journal of Psychiatry, 123(575), 467-470. Retrieved October 5, 2015, from http://bjp.rcps ych.org/content/ bjprcpsych/123/575/467.full.pdf

Kikkert, M. J., Schene, A. H., Koeter, M. W., Robson, D., Born, A., Helm, H., et al., (2006). Medication adherence in schizophrenia. Schizophrenia Bulletin, 32(4), 786-794.

Mahaye, S., Mayime, T., Nkosi, S., Mahomed, F.N., Ntuli, L., Pramlal, J., et al. (2012). Medication adherence of psychiatric patients in an outpatient setting. African Journal of Pharmacy and Pharmacology, 6(9), 608-612.

Maheshwari, S. K., Gupta, S., & Sharan, P. (2009). Medication non-compliance and substance abuse in schizophrenia. The Nursing Journal of India, 9, 201-203.

Mamo, E. S., Gelaw, B. K., Tegegne, G. T., Alemu, T. N., & Legese, K. (2014). Medication adherence among patients with schizophrenia treated with antipsychotics at Adama Hospital, East Shoa Zone, Orimia Regional State. Indo American Journal of Pharmaceutical Research, 4(8), 3447-3454.

Marder, S. R., Glynn, S. M., Wirshing, W. C., Ross, D., Widmark, C., Mintz, J. et al. (2003). Maintenance treatment of schizophrenia with risperidone haloperidol: 2-year outcomes. The American Journal of Psychiatry, 160(8), 1405-1412.

McCann, T. V., Clark, E., & Lu, S. (2009). Subjective side effect of antipsychotics and medication adherence in people with schizophrenia. Journal of Advance Nursing, 65(3), 534 - 543.

Orem, D. E. (1991). Nursing: Concepts of practice. (4th ed). St Louis: Mosby-Year Book.

Razali, S. M., & Yusoff, M. Z. (2014). Medication adherence in schizophrenia. A comparison between outpatients and relapse cases. East Asian Arch Psychiatry, 24, 68-74.

Taylor, V. (2011). Prevalence of schizophrenia. Retrieved January 17, 2015, from http:// www.schizophrenic.com/articles/ schizophrenia/prevalence-schizophrenia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28