การพัฒนาโปรแกรมจัดการความโกรธด้วยสติบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง

Main Article Content

วรรณี ศิรินทรางกูร
นพรัตน์ ไชยชำนิ
เสาวลักษณ์ ยิ้มเยื้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและทดสอบ ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความโกรธ ด้วยสติบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรม รุนแรง


วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย และพัฒนา การวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ได้แก่ 1) ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม และ 2) ขั้นตอน การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่มที่สอดคล้องกับขั้นตอนการทำวิจัยคือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ คือ พยาบาลวิชาชีพ 4 คน พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง 2 คน ผู้เชี่ยวชาญสติบำบัด 2 คน ผู้ดูแล 4 คน และผู้ป่วย 4 คน สำหรับ ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม และ 2) ผู้ป่วยจิตเภท ที่มีพฤติกรรมรุนแรง 60 คน สำหรับขั้นตอนการ ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม สำหรับขั้นตอน ที่ 2 กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย 1)โปรแกรมการจัดการความโกรธ ด้วยสติบำบัด มีค่า IOC .80 2) แบบประเมินการ แสดงความโกรธตามแนวคิดของสปีเบอร์เกอร์ รีดเชอร์และไซด์แมน ตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .70 และ 3) แบบวัดสุขภาวะตามแนวคิดของ วิพุธ พูลเจริญ ตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ


ผลการศึกษา: 1) โปรแกรมการจัดการ ความโกรธด้วยสติบำบัด ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ การจัดการความว้าวุ่นใจ เส้นทางความโกรธรู้จักสมาธิ สติกับการดำเนินชีวิต การคิดเชิงบวก สัมพันธภาพกับคนใกล้ชิด การสื่อสารด้วยสติ และ รักตนเอง รักผู้อื่น 2) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยการแสดงความโกรธแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 744.10, p < .01) พบว่า ค่าเฉลี่ยการแสดงความโกรธ ก่อนการทดลอง หลัง การทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (F = 33.47, p < .01) และผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนน เฉลี่ยการแสดงความโกรธระหว่างกลุ่มกับระยะ เวลาการทดลอง พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม กับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 17.58, p < .01) และ 3) กลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 5557.49, p < .01) และ พบว่า ค่าเฉลี่ยสุขภาวะ ก่อนการทดลอง หลังการ ทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (F = 11.56, p < .01) และผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนน เฉลี่ยสุขภาวะระหว่างกลุ่มกับระยะเวลาการ ทดลอง พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับ ระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 27.76, p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้ในการลดการแสดง ความโกรธและส่งเสริมสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภท ที่มีพฤติกรรมรุนแรงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กงจักร สองลา และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2557). ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 75-89.

กรมสุขภาพจิต. (2558). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: งานพิมพ์.

กรรณิกา ชอบน้ำ. (2555). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลในการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภท. สารนิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิตสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กัญญาวรรณ ระเบียบ, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, และรัตน์ศิริทาโต. (2556). ผลของโปรแกรม การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการ ควบคุมความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวใน ผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต, 27(2), 69-83.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2555). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ทัศไนย วงศ์สุวรรณ. (2542). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อความโกรธของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา, คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีดา เอกวานิช. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังในชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิเชฐ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

พิมพ์ชนา ศิริเหมอนันต์, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, และอทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง. (2555). การบำบัดการรู้คิด-ปรับพฤติกรรม เพื่อลดอาการทางบวกในผู้ป่วยจิตเภท: การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการปฏิบัติ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง ประเทศไทย, 57(2), 235-248.

พิศมัย สิโรตมรัตน์. (2553). ความว้าเหว่ การรับรู้ ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. (2560). สถิติผู้ป่วยจิตเภทของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ประจำปี 2557-2559. สุราษฎร์ธานี.

วิพุธ พูลเจริญ. (2544). สุขภาพอุดมการณ์และยุทธศาสตร์ทางสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบัน วิจัยระบบสาธารณสุข.

วิสุทธ บุญญะโสภิต. (2557). บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review): สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2557). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

สมภพ เรืองตระกูล. (2557). ตำราจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

Adele, M. H., & Feldman, G. (2004). Clarifying the construct of mindfulness in the context of emotion regulation and the process of change in therapy. Clinical Psychology: Science and Practice, 11(3), 255-262.

Alberto, A., Clemente, F., María del, C., Jose, J. G., & Isabel, M. (2015). Mindfulness training for reducing anger, anxiety, and depression in fibromyalgia patients. Frontiers in Psychology, 5, 1-7.

Beck, J. S. (1995). Cognitive therapy: Basic sand beyond. New York: The Guilford Press.

Chan, H. Y., Lu, R. B., Tseng, C. L., & Chou, K. R. (2003). Effectiveness of the anger – control program in reducing anger expression in patients with schizophrenia. Archive of Psychiatric Nursing, 17, 88-95.

Davis, L. & Kurzban, S. (2012) Mindfulness- Based Treatment for People with Severe Mental Illness: A Literature Review. American Journal of Psychiatry, 15(2), 202-232.

Dupuy, H. J. (1977). The general well-being schedule. In F. McDowell & C. Newell (Eds.), A Measuring Health: A Guide to Rating Scales and Questionnaires (p. 125). New York: Oxford University Press.

Glancy, G., & Saini, M. A. (2005). An evidence-based review of psychological treatments of anger and aggression. Brief Treatment and crisis Intervention, 5(2), 229-248.

Hagiliasis, N., Gulbenkoglu, H., Dimarco, M., Young, S., & Hudson, A. (2005). The anger management project: A group intervention for anger in people with physical and multiple disabilities. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 30(2), 86-96.

Jung, H. S., Song, J. Y., & Chung, K. J. (2000). Anger experience and expression in patients with schizophrenia. Journal of the Korean Neurological Psychiatric Association, 39(60), 1045-1053.

Milani, A., Nikmanesh, Z., & Farnam, A. (2013). Effectiveness of Mindfulness-Based Cognitive Therapy (MBCT) in reducing aggression of individuals at the Juvenile Correction and Rehabilitation Center. International Journal of High Risk Behav¬iors and Addiction, 2(3), 126–131.

Novaco, R. W. (1975). The Cognitive regulation of anger and stress. In P. C. Kendall & S. D. Hollon (Eds.). Cognitive-behavioral intervention: Theory research and procedures. PA: Mosby.

Patrizia, C., Nadav, A., & Ilona, B. (2008). Teaching Mindfulness Based Cognitive Therapy (MBCT) to students: The effects of MBCT on the levels of mindfulness and subjective well-being. Counselling Psychology Quarterly, 21(4), 323-336.

Rossi, A. M., Jacobs, M., Monted, M., Olsen, R., Subber, R. W., Winkler, E. L., et al. (1986).

Characteristics of psychiatric patients who engage in assaultive of other fearing reducing behaviors. The Journal of Nervous and Mental Disease, 174(4), 154-60.

Segal, Z. V., Williams, J. M. G., & Teasdale, J. D. (2002). Mindfulness-based cognitive therapy for depression. New York: The Guilford Press.

Spieiberger, C. D., Reheiser, E. C., & Sydeman, S. J. (1995). Measuring the experience, expression, and control of anger. In H. Kassinove (Ed.). Anger disorder: Definition, diagnosis, and treatment (pp. 49-67). Washington, D.C: Taylor & Francis.

Steven, W., Andrew, D., & Kevin, H. (2009). Aggressive and violent behavior. Science Direct, 14(5), 273-432.

Yudofsky, S. C., Silver, J. M., Jackson, W., Endicott, J., & Williams, D. (1986). The overt aggression scale for the objective rating of verbal and physical aggression. American Journal of Psychiatry, 143(1), 35-39.