ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลำย FACTORS PREDICTING DEPRESSION IN SECONDARY SCHOOL STUDENTS

ผู้แต่ง

  • นวลจิรา จันระลักษณะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิหารแดง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
  • ทัศนา ทวีคูณ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย
  • โสภิณ แสงอ่อน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Depression, Self-esteem, Family relationship, Friendship intimacy, Students

บทคัดย่อ

Objective: To study factors predicting depression in secondary school students. 

Methods: This study was a descriptive research. The subjects were 327 Mattayomsuksa 4-6 students in a province in central Thailand. The research instruments included the general data
questionnaire, the depression questionnaire, the self-esteem questionnaire, the family relationship questionnaire, and the friendship intimacy questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and hierarchical regression analysis.

Results: The findings revealed that gender, academic achievement, self-esteem, family relationships, and friendship intimacy could explain the variance of depression in the subjects by 61%. Factors significantly influencing depression in secondary school students were self-esteem, family relationships, and friendship intimacy, which self-esteem was the strongest predictor.

Summary: Secondary school students who had high self-esteem, family relationships, and friendship intimacy tended to have less depression. Results from this study provide important information for psychiatric and mental health nurses to develop an intervention program to prevent depression in secondary school students. This program should be aimed at increasing self-esteem, family relationships, and high friendship intimacy.

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง จำนวนทั้งหมด 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว และแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติการถดถอยแบบพหุคูณแบบเชิงชั้น

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า เพศ ผลการเรียน การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัว และความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัว และความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน โดยการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าได้ดีที่สุด

สรุป:นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง มีความผูกพันในครอบครัวและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนมากจะมีภาวะซึมเศร้าต่ำ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันในครอบครัว และความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน

Author Biographies

นวลจิรา จันระลักษณะ, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิหารแดง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ทัศนา ทวีคูณ, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

โสภิณ แสงอ่อน, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30