การพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม สำหรับผู้ติดสุราที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน DEVELOPMENT OF COGNITIVE BEHAVIORAL COUNSELING PROGRAM FOR PERSONS WITH ALCOHOLISM AND MAJOR DEPRESSIVE DISORDERS RECEIVING

Main Article Content

สมบัติ สกุลพรรณ์
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา

บทคัดย่อ

Abstract


Objectives: To develop the cognitive behavioral counseling program for alcoholic with major depressive disorders receiving services at community hospital.


Methods: The conceptual frameworks for the program developed were Beck’s cognitive theory. Four steps for developing program were 1) need assessment, 2) program planning, 3) program implementation, and 4) program evaluation.


Results:
1. The cognitive behavioral counseling program for alcoholic with major depressive disorders receiving services at community hospital composed of 6 sessions, 45-90 minutes for each
session within 3 weeks.

2. The main tasks of the program were identifying automatic thoughts, evaluating automatic thoughts, and responding to automatic thoughts.

3. The content validity for this program was accepted by 5 experts.

4. Counselors and patients reported that activities and tasks in the program were practical and useful.  

5. Counselors need to be trained before using this program.

Conclusion: The cognitive behavioral counseling program for alcoholic with major depressive disorders receiving services at community hospital was developed and perceived as practically promising and usefulness from both counselors and patients.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ติดสุราที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน

วิธีการศึกษา: แนวคิดในการสร้างกิจกรรมในโปรแกรมจาก ทฤษฎีทางปัญญาของ เบค โดยมีขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมตามแนวคิดของเบรพแมน 4 ขั้นตอนคือ 1) การประเมินความต้องการ 2) การวางแผนโปรแกรม 3) การนำโปรแกรมไปทดลองใช้ และ 4) การประเมินโปรแกรม

ผลการศึกษา:

1. โปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ติดสุราที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนมีการให้การปรึกษา  จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ45 - 90 นาที ในช่วงเวลา 3 สัปดาห์

2. เนื้อหาหลักของโปรแกรมคือ การค้นหาความคิดอัตโนมัติ ประเมินความคิดอัตโนมัติและการปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติหรือการแก้ปัญหา  

3. โปรแกรมมีความตรงตามเนื้อหา จากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน  

4. ผู้ให้การปรึกษาและผู้ป่วยรายงานว่ากิจกรรมและงานในโปรแกรมสามารถทำได้จริงและมีประโยชน์  

5. ผู้ให้การปรึกษาจำเป็นต้องได้รับการฝึกก่อนการใช้โปรแกรม

สรุป: โปรแกรมการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ติดสุราที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมบัติ สกุลพรรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่