ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ* FACTORS INFLUENCING LONELINESS IN OLDER ADULTS

Main Article Content

สมหมาย กุมผัน
โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

Abstract


Objective: The aim of this predictive research was to examine factors influencing loneliness in older adults. The selected factors included age, marital status, health status, family
relations, sense of belonging, and social support.

Methods: The study sample consisted of 116 older adults in a community, Phetchaburi Province. Multi–stage random sampling was used to select the samples. Data were collected during April – May 2015. The research instruments included the Set Test, demographic data
questionnaire, Health Status Scale, Family Relationships Assessment Scale, Sense of Belonging Instrument, Psychological (SOBI-P), the Multidimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS), and the Loneliness Scale. The data were analyzed using descriptive statistics and Hierarchical multiple regression.

Results: The results revealed that age, marital status, health status, family relations, sense of belonging, and social support could jointly explain 56% of the variance in loneliness in older adults. Factors significantly predicted loneliness in older adults were social support, health status, and sense of belonging. However, age, marital status, and family relations did not emerge as a significant predictor of loneliness in older adults. Results from this study could be utilized to prevent and reduce loneliness in older adults by promoting social support and a sense of belonging and minimizing health problems in older adults.

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม และการสนับสนุนทางสังคม                                                                                            

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 116 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน –พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ประกอบ ด้วย แบบทดสอบหมวดหมู่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะสุขภาพ แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความว้าเหว่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติความถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบลำดับชั้น  

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า อายุสถานภาพสมรส ภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม และการสนับสนุนทางสังคม ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความว้าเหว่ในผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 56 ปัจจัยที่สามารถทำนายความว้าเหว่ในผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ภาวะสุขภาพ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม ส่วนอายุ สถานภาพสมรส และสัมพันธภาพในครอบครัว ไม่พบอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ

ผลการวิจัย: ให้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและลดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุ  โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคม และลดปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมหมาย กุมผัน, นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โสภิณ แสงอ่อน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล