ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมก้าวร้าว ในวัยรุ่นที่เผชิญเหตุการณ์รุนแรง* RELATIONSHIPS BETWEEN RESILIENCE AND DEPRESSION AND AGGRESSIVE BEHAVIORS IN ADOLESCENTS EXPOSED TO VIOLENCE

Main Article Content

อริศรา สุขศรี
พัชรินทร์ นินทจันทร์
ทัศนา ทวีคูณ

บทคัดย่อ

Abstract

Objective: This descriptive correlational research design aimed at investigating relationships between resilience and depression and aggressive behaviors in adolescents exposed to violence.

Methods: The study sample consisted of 283 secondary school students studying in the second semester of academic year 2014 in a school located in a province in the three southern border provinces. The research instruments including a demographic data questionnaire, Resilience Inventory, Center for Epidemiologic Studies Depression Scale, and Thai Aggressive Behaviors Scale were used for data collection. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, and Spearman’s rank-order correlation.

Results: The findings revealed that resilience in adolescents exposed to violence was negatively related to depression (rs = - .358, p < .001) and aggressive behaviors ( rs = - .291, p < .001). Results from this study could be used for developing resilience promotion plan in adolescent exposed to violence.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่นที่เผชิญเหตุการณ์รุนแรง

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 - 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา2557 จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น แบบวัดพฤติกรรมความก้าวร้าว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น ที่เผชิญเหตุการณ์รุนแรงมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะซึมเศร้า (rs = - .358, p < .001) และพฤติกรรมก้าวร้าว (rs = - .291, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในวางแผนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้วัยรุ่นที่เผชิญเหตุการณ์รุนแรงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อริศรา สุขศรี, นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย
มหิดล

ทัศนา ทวีคูณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล