ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียน

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ กอกุลจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มรรยาท รุจิวิชชญ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พนิดา ศิริอำพันธ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะบกพร่องทางด้านการเรียน, ผู้ดูแล, การดูแลสุขภาพองค์รวม, วงจรพัฒนาคุณภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแล สุขภาพแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลเด็ก ของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียน

 

วิธีการศึกษา:

กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่ดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียนในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแล สุขภาพแบบองค์รวม และกลุ่มควบคุมได้รับการ ดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพองค์รวมของเด็กที่มี ภาวะบกพร่องด้านการเรียนได้ค่าดัชนีความตรง ของเนื้อหาเท่ากับ .82 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค  เท่ากับ .94 และโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นด้วยพื้นฐานแนวคิดของ แลนดรัมประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ทดสอบที (t-test)

 

ผลการศึกษา1)  ค่าเฉลยคะแนนพฤติกรรม การดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียนในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการ ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001

2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางด้าน การเรียนของผู้ดูแลระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในกลุ่ม ทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001

สรุป: พยาบาลที่ปฏิบัติงานในระดับชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถนำไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแล เด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียนในชุมชน

References

กาญจนา คูณรังสีสมบูรณ์. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้ปกครองเด็กพัฒนาการช้า. วารสารสวนปรุง, 27(3), 5 - 16

นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, และพนม เกตุมาน. (2558). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์, สุวิมล แสนเวียงจันทร์, และประทีป ปัญญา. (2553). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส. รายงานวิจัยคณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี.

มรรยาท รุจิวิชชญ์. (2556). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาณิกา เพชรรัตน์. (2554). ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นที่มีความผิดปกติของการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

วนิดา ชนินทยุทธวงค์, ประเสริฐ จุฑา, จันทนี มุ่งเขตกลาง, และอัจจิมา ศิริพิบูลย์ผล. (2554). การศึกษาระดับความสามารถทาง เชาวน์ปัญญาในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กปกติด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล.

สถาบันราชานุกูล. (2556). คู่มือครูระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่อง ทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสซิ่ง.

สวาท ฉิมพาลี, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, และพาณี สีตกสิน. (2553). การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วมอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุข- ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 83-92.

สุชญาดา ขุนเสถียร, วรรณา อาราเม, ปราณี ทองใส, และถาวร ทรัพย์ทวีสิน. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลในมารดา/ผู้ดูแล ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในภาวะวิกฤตภายหลังผ่าตัด. วารสารพยาบาล ศิริราช, 5(1), 1-13.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). สถิติทางการศึกษา. เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https:// www.bopp-obec.info/home/ ?page_id=10968

อนัญญา สินรัชตานันท์ และธีรารัตน์ แทนขำ. (2556). แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่องออทิสติกสมาธิสั้นและภาวะบกพร่องทางการเรียนสำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ฟาสต์บุคส์.

Al-Yagon, M. (2010). Maternal emotional resources and socio-emotional well-being of children with and without learning disabilities. Family Relations, 59(2), 152-169.

Kauffman, J. M., & Hallahan, D. P. (2005). Special education: What it is and why we need it. Boston:Allyn & Bacon.

Landrum, P., Beck, K., Rawlins, P., & Williams, R. (1993). In R. Rawlins, S. Williams and C. Beck (Eds.), Mental health - Psychiatric nursing: A holistic life – cycle approach (3rd ed., pp. 17 - 39). Mosby Year Book: London, UK.

Murphy, N. A., Christian, B., Caplin, D. A., & Young, P. C. (2007). The health of caregivers for children with disabilities: caregiver perspectives. Child: Care, Health and Development, 33(2), 180-187. doi:10.1111/j.1365-2214.2006.00644.x

National Center for Education Statistics. (2015). Students with disabilities. Retrieved Feb 12, 2016, from https://nces. ed.gov/ fastfacts/ display.asp?id=64

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. Michigan: Lippincott.

Sandy, P. T., Kgole, J. C., & Mavundla, T. R. (2013). Support needs of caregivers: Case studies in South Africa. International Nursing Review, 60(3), 344-350. doi:10.1111/inr.12022

Simon, A., & Easvaradoss, V. (2015). Caregiver Burden in Learning Disability. The International Journal of Indian Psychology, 2(3), 86-90.

Smith, M., & Kemp, G. (2016). Caregiving support and help. Retrieved Feb 20, 2016, from https://www.helpguide.org/articles/ caregiving

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26