บทบรรณาธิการ

 ข่าวใหญ่ทั้งในทางหน้าหนังสือพิมพ์และสังคมออนไลน์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ แนวโน้มของสถาบันระดับอุดมศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวเองขนานใหญ่ หรือไม่ก็ต้องปิดตัวเองลง ผลกระทบดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นแนวหน้าในด้านความสามารถในการจัดการศึกษาของโลก ประเทศไทยเองก็มีบรรยากาศที่ไม่น่าไว้วางใจเท่าไรนัก โดยเฉพาะการคุมเข้มหน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษาเอง และขององค์กรอิสระที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกสองสามฉบับในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันทิศทางและนโยบายในการจัดการศึกษาระดับนี้ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนว่าจะก้าวกันต่อไปอย่างไรดี

เมื่อไม่นานมานี้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการก็ให้แนวนโยบายและให้ข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องว่าอยากเห็นการปรับตัวของมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน นัยว่าอยากเห็นหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาตอบโจทย์ปัญหาของประเทศมากขึ้น คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาต้องตอบสนองตลาดผู้ใช้บัณฑิต นักธุรกิจหัวใจนักวิชาการก็เสนอแนะแนวทางกันอีกอย่างต่อเนื่องกันเป็นระลอก ขณะเดียวกันพันธนาการที่มีอยู่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะเปลี่ยนแปลง สถานการณ์การจัดการอุดมศึกษาของไทยในปัจจุบันจึงมีความขัดแย้งระหว่างแนวคิด นโยบาย และการปฏิบัติ คือ ความต้องการเสมือนหนึ่งอยากให้นักกีฬาไทยได้แชมป์วิ่งร้อยเมตร แต่ขณะเดียวกันถ่วงขานักวิ่งด้วยลูกตุ้มเหล็ก จึงทำให้การบริหารงานระดับอุดมศึกษาของไทยเหมือนกับเป็นโรงเรียนอนุบาล ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เต็มไปด้วยนักวิชาการชั้นสูง มีวุฒิภาวะ มีประสบการณ์ และความรู้ความสามารถมากมาย แต่ก็ถูกกำกับการทำงานยังกับเด็กอนุบาล ไม่ไว้วางใจให้รับผิดรับชอบงานด้วยตนเองเท่าที่ควร

ในฐานะบรรณาธิการวารสารทางวิชาการ อยากขอเชิญชวนนักวิชาการ คณาจารย์ และผู้บริหารระดับสถาบันอุดมศึกษาได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็น และช่วยกันหาทางออกให้กับการบริหารและการจัดการศึกษาของประเทศไทย อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคนด้วยว่าเราควรจะเดินหน้ากันต่อไปอย่างไรดี โดยส่งบทความของท่านมายังมหาวิทยาลัย หรือ email ของฝ่ายจัดทำวารสาร หรือของบรรณาธิการ [email protected] ก็ได้ครับ ขอบคุณครับ

  

                                                          รองศาสตราจารย์ ดร. สมาน อัศวภูมิ

                                                                      บรรณาธิการ

Published: 2018-03-26

The Comparison of The Webpages Creative Unit Learning Outcome By HTML Language Of Mathayomsuksa 4 Students By Using Instructional Package and Conventional Method

ชัชฎาพร สารมาศ, ทองสุข วันแสน, ประสิทธิ์ นิ่มจินดา, วสันต์ หอมจันทร์

9-23

A Study of the Problems and Guidelines of the Internal Supervision of the High Schools under the Office of the Secondary Education Service Area 29

ณัฐกานต์ รัชชะ, อานันท์ ทาปทา, สุวิมล โพธิ์กลิ่น

41-52

The Satisfaction of people towards Public Services in Ubon Ratchathani Municipality

สกลรัชต์ คงรอด, อัญญาณี อดทน

53-62