การสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก Development of the instrument for measuring Psychiatric Nursing Practice Competency in Army Nursing Students

Authors

  • อรวรรณ จุลวงษ์ ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • พจนา เปลี่ยนเกิด ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • สมพิศ เกิดศิริ ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • อัญธิดา สระแก้ว ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

Keywords:

เครื่องมือวัดสมรรถนะปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช, นักเรียนพยาบาลกองทัพบก, Psychiatric nursing practice competency instrument, army nursing students

Abstract

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกเป็นสถาบันที่ผลิตพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของกองทัพและสังคมโดยมีการจัดการเรียนการสอนมุ่งสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยในทุกสถานการณ์  การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเฉพาะทางการพยาบาลโดยเฉพาะด้านการพยาบาลจิตเวช ได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.) อย่างไรก็ตามจากผลการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่าผู้เรียนยังขาดการเรียนรู้บางสมรรถนะซึ่งอาจเนื่องจาก ลักษณะวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่มีความเฉพาะของสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชซึ่งต้องอาศัยเทคนิคการพยาบาลที่แตกต่างกับการดูแลฝ่ายกาย  และการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา  พบว่ายังไม่มีการศึกษาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชที่ชัดเจน  ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชในนักเรียนพยาบาลกองทัพบก  เพื่อให้เห็นภาพรวมของสมรรถนะที่พึงมีตามกรอบวิชาชีพพยาบาลและมีความสอดคล้องกับระบบการจัดการศึกษาของสถาบันในระดับอุดมศึกษา วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบกการออกแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัย : แบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะ (1) ศึกษาองค์ประกอบของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช (2) พัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช  (3)  นำเครื่องมือไปทดลองใช้  และ  (4)  ประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือ  การวิเคราะห์เนื้อหา  (content  analysis)การคำนวณหาค่าความคิดเห็น (Percentage  agreement) การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC) และทดสอบความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ผลการวิจัย : องค์ประกอบของเนื้อหาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช แบ่งเป็น 7 สมรรถนะหลักซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 60 ข้อ คำนวณค่าความตรงของเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 94.6 ทดสอบค่า IOC รายข้อของแต่ละสมรรถนะได้ มากกว่า 0.5 ส่วนการทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.82 ผลการวิจัยนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสมรรถนะทุกด้านในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช  ตลอดจนการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

The Royal Thai Army Nursing College has, as its mission, the production and development of the best trained  professional  nurses  with  the  capability  to  provide  the  very  best  care  in  all  patient  situations.The learning and teaching process emphasizes not only theory, but also the practical application of theory. The psychiatric nursing practicum is one of several major nursing components in the curriculum of the RTANC. Although the RTANC curriculum continues to meet all the required general educational standards, and has an effective student evaluation process based on the Thailand Qualification Framework (TQF) which focuses on the quality of students effective learning process, there are some issues, and learning areas not covered by TQF that are required for nurses to be considered completely competent in psychiatric nursing. The nursing profession is different from other professions in that it requires not only theoretical knowledge, but also particular  skills  in  practice,  especially  during  the  psychiatric  nursing  practicum.   Furthermore,  no  previous studies have discussed development of an instrument for measuring psychiatric nursing competency during the  practicum.  Researcher’s  team  is  interested  in  developing  an  instrument  to  measure  such  nursing competency in order to document and clarify all competencies related to psychiatric nursing practice, and determine the consistency of the competencies based on TQF and the nursing competency framework of the Thailand  Nursing  Council.  Purpose:  was to  develop  the instrument  measuring  psychiatric  nursing  practice competency in Army nursing students. Research design: research & development design. Methods: there were 4 phases which included (1) literature review of psychiatric nursing competency and related others.,(2) developing the instrument for measuring psychiatric nursing practice competency, (3) try out the instrument and (4) testing the reliability of the instrument by applying alpha conbrach coefficiency. Data analysis: Content analysis,   percentage  agreement, and  IOC  testing  for  content  validity  of  the  instrument.  Alpha  conbrach correlation  coefficient  was  applied  for  reliability  testing  of  internal  consistency  of  the  instrument.  Result: The psychiatric nursing practice competency instrument consists of 7 content areas with 60 items. Percentage agreement of content validity was 94.6 which is acceptable. IOC testing was > 0.5 for all items. The overall reliability was 0.82. Conclusion: The study finding will be a guideline for improving class and clinical teaching strategies in order to provide all the practice competencies required for students leading to an effective evaluation of the practicum learning process of army nursing students.

Downloads

How to Cite

1.
จุลวงษ์ อ, เปลี่ยนเกิด พ, เกิดศิริ ส, สระแก้ว อ. การสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก Development of the instrument for measuring Psychiatric Nursing Practice Competency in Army Nursing Students. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Mar. 29];14(3):50-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/16014