เทปเสียงสู่จิตใต้สำนึกเพื่อลดอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ:การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม Subliminal audio-tape for reducing insomnia in the elderly: Randomized Controlled Trial

Authors

  • พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกอบ ผู้วิบูลย์สุข ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้สูงอายุ, นอนไม่หลับ, เทปเสียงสู่จิตใต้สำนึก, ทดลองแบบปกปิดสองทาง, Elderly, Insomnia, subliminal audio-tape, double-blind controlled trail

Abstract

การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองใช้เทปเสียงสู่จิตใต้สำนึกลดอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ ซึ่งไม่มีความบกพร่องในการได้ยิน ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคทางกายตามแบบวัดของบีลอกและโรคจิตตาม DSM IV โดยมีจิตแพทย์เป็นผู้คัดกรองและเต็มใจเข้าร่วมการวิจัยแบ่งแบบสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ให้กลุ่มตัวอย่างฟังเทปเสียงในช่วงที่ล้มตัวลงนอนทุกคืนต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ และตรวจสอบด้วยการสลับกลุ่มต่อไปอีก           2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่าก่อนการทดลองไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับ (วัดด้วย VSH Sleep Scale) ระหว่างกลุ่มทดลอง (112.50 + 13.74) และกลุ่มควบคุม (115.60+12.59) หลังการทดสอบฟังเทปเสียง 2 ครั้ง กลุ่มทดลอง (130.40 + 8.11), (121.83  + 11.44) มีค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 คณะผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรใช้เทปเสียงสู่จิตใต้สำนึกเพื่อช่วยส่งเสริมการนอนหลับให้แก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหานอนไม่หลับ

The randomized controlled trial, double-blind controlled trail, aimed to examine the effect of subliminal audio tape on elders’ insomnia.              Samples represented population having insomnias. Inclusion criteria included 1) no somatic  disease by Belog 2) no psychosis disorders by DSM IV 3)no hearing disorders, and 4) consent to participate in               research. Sixty samples were randomly selected to control and Experimental groups. Each was asked to listen to the Sub liminal              audio tape while lying to sleep every night for 2 weeks continuously. The result illustrated that no statistically significant different on the quality of sleep between experimental group (112.50+13.74) and control group (115.60+12.59). After two weeks, in experimental group the quality of sleep of the first (130.40+8.11) and the second (121.83+11.44) experimental group were statistically significant increased (p<.05). The author recommended using subliminal audio-tape in the insomnia elderly.

Downloads

How to Cite

1.
คุ้มทวีพร พ, ผู้วิบูลย์สุข ป. เทปเสียงสู่จิตใต้สำนึกเพื่อลดอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ:การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม Subliminal audio-tape for reducing insomnia in the elderly: Randomized Controlled Trial. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Feb. 2 [cited 2024 Mar. 19];14(3):59-66. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/16015