การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ Management for Gestational Diabetes Mellitus

Authors

  • กาญจนา ศรีสวัสดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • อรพินท์ สีขาว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Keywords:

หญิงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์, การดูแลระหว่างตั้งครรภ์, การดูแลหลังคลอด, gestational diabetes, perinatal care, post partum care

Abstract

การตั้งครรภ์ชักนำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทำให้ทารกมีขนาดใหญ่ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นโรคเบาหวาน ในเวลาต่อมา พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก และหญิงทั่วไปในสัปดาห์ที่ 24 - 28 ของการตั้งครรภ์ โดยการทดสอบการทนต่อกลูโคส (OGTT) 75 กรัม และใช้จุดตัดของระดับน้ำตาลในเลือดที่ ≥ 92, 180, 153 มก./ดล. หารหลังการอดอาหาร หลังการดื่มกลูโคส 1 และ 2 ชั่วโมง ตามลำดับ ถ้ามีความผิดปกติแม้เพียงหนึ่งค่า ให้ถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การติดตามคัดกรองโรคเบาหวาน 6 - 12 สัปดาห์หลังคลอด ใช้เกณฑ์เช่นเดียวกับคนปกติ และติดตามต่อไปทุก 1 - 3 ปี ในกลุ่มที่จัดว่าเป็นโรคเบาหวานแอบแฝง (prediabetes) ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ปรับแบบแผนการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ร่วมกับการใช้ยาเม็ทฟอร์มิน (metformin) ตลอดจนดูแลปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนต่อกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะช่วยให้สามารถติดตามและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยระหว่างตั้งครรภ์ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ และในระยะหลังคลอด ถึงแม้ว่าการดูแลรักษาโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เป็นการปฏิบัติที่คุ้มค่าเพราะช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมในมารดาและทารกในอนาคต

Gestational diabetes mellitus (GDM) induces to develope Type 2 diabetes mellitus, causes the macrosomia, neonatal hypoglycemia and diabetes. Many pregnant women are undiagnosed GDM, it is very important to screen this vulnerable group at the fist prenatal visit and all pregnant women between the 24th and 28th week of gestation with 75 g OGTT. One or more abnormal value (≥ 92, 180 or 153 mg/dl for fasting, 1-hour and 2-hour plasma glucose, respectively) is diagnostic of GDM. Follow-up program should be screen at the 6 - 12 weeks postpartum and at 1-3 year intervals using nonpregnant criteria. The prediabetes should be educated regarding lifestyle modifiations including weight reduction, exercise, diet modifiation, metformin therapy and treatment of other CVD risk factors. The practice guideline should be implemented to the risk diabetes group and the GDM to follow up and treatment for perinatal care, preventing of GDM and long term care to prevent post partum diabetes. Although the managements of diabetes and GDM are expense, they provide many benefis for long term reduction of diabetes mellitus and metabolic disorders in the mother and the offspring in the future

Downloads

How to Cite

1.
ศรีสวัสดิ์ ก, สีขาว อ. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ Management for Gestational Diabetes Mellitus. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Apr. 20];15(2):50-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25156