ประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว แบบบูรณาการในชุมชน Effectiveness of Integrated Rehabilitation Model for Persons with Physical Disability in Community

Authors

  • จิรพรรณ โพธิ์ทอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อาภรณ์ ดีนาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รัชนี สรรเสริญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

รูปแบบการฟื้นฟูสภาพแบบบูรณาการ, คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว, คุณภาพชีวิต, Integrated rehabilitation model, Persons with physical disability, Quality of life

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการในชุมชนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาสถานการณ์จริง ตามแนวคิด PRECEED PROCEDE Model และการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ การบริหารจัดการ การกำหนดกระบวนการ และการกำหนดผลลัพธ์ รูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวถูกนำไปใช้โดยพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ในอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวในชุมชน จำนวน 20 ราย เครื่องมือประกอบด้วยแนวปฏิบัติและคู่มือ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังความพิการ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต โดยติดตามประเมินผลหลังการใช้รูปแบบเป็นเวลา 3 เดือน ใช้สถิติการวิเคราะห์แบบพรรณนา และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันแตกต่างจากก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังความพิการลดลง จำนวน 2 รายและมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในทุกด้าน แตกต่างจากก่อนการใช้รูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพสามารถนำรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวนี้ไปใช้ได้จริงโดยควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาทีมฟื้นฟูสภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

The purpose of this quasi - experimental research to study outcome of integrated rehabilitation model for persons with physical disability in community that the researcher developed from situation analysis
based on PRECEED PROCEDE Model and evidenced - based literature reviews. This model including administration factors, rehabilitation process and outcomes setting. It was carried out by community nurses who is
designated as a manager in Na-yai-am District, Chantaburi. This approach emphasizes setting policy, establishing rehabilitation team in community and training rehabilitation knowledge and skill to team. Twenty physically
disabled persons were selected by random from ten sub districts for implementation for 3 months. The data were collected Instruments consisted of activities of daily living assessment, complication questionnaires, and WHO’S quality of life questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test. The results shown that physical disability persons had signifiantly increasing activities of daily living at 0.05 level. There were 2 physical disability persons decreased complication. They were signifiantly increasing quality of life at 0.01 level. Suggestions that community nurses should aware community participation and continuous rehabilitation team development when they use integrated rehabilitation model.

Downloads

How to Cite

1.
โพธิ์ทอง จ, ดีนาน อ, สรรเสริญ ร. ประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว แบบบูรณาการในชุมชน Effectiveness of Integrated Rehabilitation Model for Persons with Physical Disability in Community. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2014 Dec. 8 [cited 2024 Mar. 28];15(2):232-41. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25183