สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ของพยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ

Authors

  • วิลาวรรณ แก้วทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

สมรรถนะพยาบาล, การดูแลแบบประคับประคอง, หน่วยบริการปฐมภูมิ, Nurse Competency, Palliative Care, Primary Care Unit

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนของพยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แบบสอบถามพัฒนาตามกรอบแนวคิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า พยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิมีคะแนนสมรรถนะภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยสมรรถนะทางคลินิกอยู่ในระดับปานกลางเพียงด้านเดียว ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนของพยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษา (p - value = 0.013) และปัจจัยสถานการณ์ คือวิธีการปฏิบัติงาน นโยบายของหน่วยงานสภาพแวดล้อมทางสังคม การได้รับการฝึกอบรม รูปแบบเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน สภาพของเครื่องมือ พื้นที่ทำงานและการจัดเตรียม จำนวนผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคองในปัจจุบัน รวมถึงสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน (p - value< 0.05) ซึ่งวิธีการปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม สภาพของเครื่องมือ นโยบายของหน่วยงานและสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ร่วมทำนายสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนของพยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิได้ร้อยละ 28.5ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนให้พยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิศึกษาต่อในระดับปริญญาโทรวมทั้งสนับสนุนสมรรถนะพยาบาลดูแลแบบประคับประคองในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ มีแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบได้รับการฝึกอบรม มีอุปกรณ์พร้อมใช้งานมีสัมพันธภาพที่ดีกับทีม และมีการเสริมสร้างนโยบายสุขภาพที่เอื้อต่อการดูแลแบบประคับประคองในชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

Competencies Of Palliative Care Among Community Nurses In Primary Care Units

The purpose of this study was to examine palliative care competencies of community nurses working in primary care units. The sample included registered nurses working in primary care units in the Ministry of Public Health in Thailand. Based on Mc Cormick & Ilgen’s job performance concept (1985), a set of questionnaires was used for data collection by post mailing. Data analysis was performed using Descriptive statistics, Chi square test, Pearson’s product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The results revealed that the overall palliative care competencies of the community nurses in primary care unitswasat a high level. While, the clinical competence was at a moderate level. The variables that significantly correlated with palliative care competencies of community nurses in primary care unitswere ; personal factors including education (p - value = 0.013) ; situation factors were methods of work in the community, policy of the organization, social environment, training, design of work equipment, condition of equipment, work space and arrangement, the number of palliative care case , including co-worker relationship (p - value < 0.05). In addition, methods of work in the community, policy of the organization, training, condition of equipment, and co-worker relationship altogether could predict 28.5% of the palliative care competencies of nurses in primary care units. Recommendations from this study included educational support at a graduate level for nurses working in primary care units. Other supporting competencies of palliative care nurses in the primary care unit, such as providing practice guidelines, good condition equipment for palliative care, opportunity for palliative care training and the promoting of a good interdisciplinary team work should be developed. In addition, a health policy supporting palliative care in the community should be promoted both at local administration level and national level.

Downloads

How to Cite

1.
แก้วทอง ว, รวิวรกุล ท, กลัมพากร ส, เกิดมงคล พ. สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ของพยาบาลหน่วยบริการปฐมภูมิ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Apr. 26];18(suppl.1):74-83. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90102