ประสบการณ์การเป็นบิดาของวัยรุ่นชาย

Authors

  • นลินี ศรีอ่อน คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีณา จีระแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ประสบการณ์การเป็นบิดา, วัยรุ่น, Fathering Experiences, Teenager

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นบิดาของวัยรุ่นชาย ผู้ให้ข้อมูลคือบิดาวัยรุ่นชาย ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี มีภรรยาเป็นวัยรุ่น และมีประสบการณ์ในการดูแลบุตรหลังคลอด 3 ถึง 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 14 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi ผลการศึกษาวิจัย พบประสบการณ์การบิดาของวัยรุ่นชาย ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลักคือ 1) ความไม่พร้อมมีลูกให้บทเรียนกับชีวิต ทำให้ต้องออกจากโรงเรียน รายได้ไม่พอใช้ทำงานเหนื่อยต้องทนไป และเรียนน้อยเลือกงานไม่ได้ 2) ชีวิตไม่เหมือนเดิมมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ โดยนิสัยต้องเปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่รับผิดชอบทำงานหาเงิน รักครอบครัวและสร้างอนาคตที่ดีขึ้น 3) ชีวิตก้าวผ่านได้ด้วยกำลังใจ ซึ่งมาในรูปแบบกำลังใจจากลูก กำลังใจจากครอบครัว และกำลังใจจากผู้คนรอบข้าง และ 4) ความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งด้านการสนับสนุนช่วยเลี้ยงดูลูก การช่วยเหลือด้านการเงิน และคำแนะนำที่ต้องการจากโรงพยาบาล

Fathering Experience Of Male Teenagers

The qualitative research purpose was to describe fathering experiences of male teenagers. The informants were teenage fathers aged 15-19 who had teenage wives and had experiences in taking care of his baby after delivery between 3-6 months. Data were collected by using the in-depth interview with tape-record and until saturated data with the 14 informants. Tape-recorded interviews were transcribed verbatim. Data were analyzed by using Colaizzi’s method. The findings revealed that the fathering experiences of male teenagers could be categorized into 4 major themes as follows. 1) Unreadiness of father to have a child gave a life lesson by causing them early school leaving, inadequate income and having to work hard with no career choice due to low educational level. 2) Lives were not the same regarding duties and responsibilities; having to change their habits, becoming a responsible adult who had to work to earn an income, and love family and plan for a better future. 3) Lives could be moved on by moral support that came from the child, family members and surrounding people. 4) Essential support was requested in term of childrearing, financial support and hospital guidance.

Downloads

How to Cite

1.
ศรีอ่อน น, จีระแพทย์ ว. ประสบการณ์การเป็นบิดาของวัยรุ่นชาย. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Mar. 28];18(suppl.1):120-6. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90110