คุณภาพการบริการทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก: กรณีศึกษาแผนกห้องผ่าตัดต้อกระจก

Authors

  • เบญจวรรณ จันทร์สามารถ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คุณภาพการบริการพยาบาล, ห้องผ่าตัดต้อกระจก, nursing service quality, cataract surgery department.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการห้องผ่าตัดต้อกระจก ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะของผู้ใช้บริการ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษารายได้ และประเภทของบัตรสวัสดิการการรักษาพยาบาลกับระดับคุณภาพการบริการ และแนวทางพัฒนาการบริการห้องผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาลผู้ให้บริการห้องผ่าตัดต้อกระจก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้ใช้บริการจำนวน 330 คน พยาบาลผู้ให้บริการจำนวน 10 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 49 ข้อ และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงธันวาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่าระดับคุณภาพการบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลรามาธิบดีอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะของผู้ใช้บริการกับระดับคุณภาพการบริการตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก พบว่าอายุ สถานภาพสมรส อาชีพ การศึกษา และรายได้แตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพการบริการทางการพยาบาลต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 4.393, 3.228, 2.834, 6.423 และ 6.423,all p<.05) และพบว่า เพศ และประเภทของบัตรสวัสดิการการรักษาพยาบาลต่างกันมีการรับรู้คุณภาพการบริการทางการพยาบาลไม่แตกต่างกัน (p>.05)

Nursing Service Quality As Perceived By The Patient Of Cataract Surgery : A Case Study In Cataract Surgery Department

This research is a quantitative research is to study the quality service of the cataract surgery department and comparing the differences between users aspects such as gender, age, marital status, occupation, education level, revenue and categories of health care cards with the quality services levels and quidelines in developing services of surgeries department, by selecting specific sampling group of 330 persons, 10 nurses who give services. Questionnaire forms by researcher create and checking by specialist were 49 item and interviewing forms were tools in data collection during September to December, 2015. Data analysis are described statistics such as frequency, percentage, average, standard deviation, t-test and F-test. Research result indicate that quality services according to the perception of users at Ramathibodi Hospital is at the highest level ( = 4.78). When comparing the differences between users aspects with quality services levels according to the perception of users, it was found that their differences in age, marital status, occupation, education level and revenue with quality services according to the perception of users were statistically different at the 0.05 level (F = 4.393, 3.228, 2.834, 6.423 และ 6.423, all p<0.05), It was found that there were no differences in gender and categories of health care cards with quality services according to the perception of the patient of cataract surgery (p>0.05).

Downloads

How to Cite

1.
จันทร์สามารถ เ. คุณภาพการบริการทางการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก: กรณีศึกษาแผนกห้องผ่าตัดต้อกระจก. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Apr. 24];18(suppl.1):181-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90120