การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง

Authors

  • สุกัญญา นิยมวัน คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ประสาน มาลากุล ณ อยุธยา คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

บทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น, บุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง, การให้การปรึกษารายบุคคล, ทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยา, The maternal role of adolescent mothers, High-risk newborns, Individual counseling model, Psychoeducational theory

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง2) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น ที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น ที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้ในการศึกษาบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง เป็นมารดาวัยรุ่นที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันแรกที่มารดาคลอดบุตรจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2558 – มกราคม 2559 จำนวน 52 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงจากประชากรตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มที่ 2 ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงมารดาวัยรุ่นจากลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนบทบาทการเป็นมารดาตั้งแต่ เปอร์เซ็นไทล์ ที่ 50 ลงมา จำนวน 24 คน แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกล่มุ ควบคุม กล่มุ ละ 12 คน กล่มุ ทดลองได้รับการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีให้การศึกษาเชิงจิตวิทยา ส่วนกล่มุ ควบคุมไม่ได้รับการให้การปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .76 และ2) รูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูงมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00 ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูงจำนวน 52 คนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ระดับปานกลาง บทบาทการเป็นมารดารายด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจอาการป่วยของบุตรและยอมรับแนวทางรักษาพยาบาล ด้านความผูกพันกับบุตร ด้านการดูแลบุตร ด้านความสามารถในการสังเกตสิ่งผิดปกติของบุตร ด้านการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และด้านความพึงพอใจในบทบาทมารดา 2. รูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยา ที่มุ่งเน้นทฤษฎีต่างๆของการให้การปรึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการรู้คิด-พฤติกรรม ทฤษฎีระบบครอบครัว ทฤษฎีโครงสร้างพฤติกรรม และทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล สนับสนุน ส่งเสริม ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเจ็บป่วย การรักษาอาการป่วย และการจัดการกับปัญหาทางด้านของจิตใจในบทบาทการเป็นมารดาของผู้รับการปรึกษา ประกอบด้วย ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติการให้การปรึกษา3. ประสิทธิผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการให้การศึกษาเชิงจิตวิทยา เพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูงพบว่า3.1 บทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น โดยรวมกลุ่มทดลอง ระหว่างหลังการทดลองและก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลังการติดตามผลและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการติดตามผลและก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053.2 บทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นโดยรวม ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ไม่แตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลอง และหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013.3 ผลการสนทนารายบุคคลเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลของมารดาวัยรุ่นกลุ่มทดลอง สรุปได้ว่ามารดาวัยรุ่นมีความพึงพอใจในรูปแบบ ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะในการเป็นมารดาของตนเองและช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ตนเองมีกำลังใจและตั้งใจที่จะพัฒนาตนเองให้เปลี่ยนแปลงในทิศทางบวก

The Development of Individual Counseling Model based on Psychoeducational Theory for Enhancing Maternal Role of Adolescent Mothers with High-Risk Newborns

The purposes of this research were 1) to study maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns, 2) to develop individual counseling model based on psychoeducational theory for enhancing maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns, and 3) to study the effectiveness of the individual counseling model based on psychoeducational theory for enhancing maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns. The sample of the study included 2 groups. The first group of the study of maternal role of adolescent mothers consisted of 52 adolescent mothers with high-risk newborns attending Bhumibhonadulayadej hospital during May, 2015-January, 2016. The second group of the study was 24 adolescent mothers with high-risk newborns scores whose mother role scores were lower than fiftieth percentile. They were then randomly selected into two groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 adolescent mothers. The experimental group participated in the individual counseling model based on psychoeducational for enhancing maternal role of adolescent mothers while the control group did not receive any counseling. The research instruments were 1) maternal role of adolescent mothers scales with reliability coefficient (alpha) of .76 and 2) the group counseling model for enhancing maternal role of adolescent mothers with IOC ranged from .66 - 1.00 The research results were as follows : 1) The total mean score and each dimension score of maternal role of adolescent mothers were average. The dimensions of maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns included the dimensions (1) The understanding of the child, s symptoms and accepting the treatment, (2) children relationships, (3) child care, (4) undesirable symptoms observation ability, (5) mother breastfeeding, and (6) the mother role satisfaction. 2) The individual counseling model based on psychoeducational theory for enhancing maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns was developed from the concepts and techniques of psychoeducational counseling theory. The model included initial stage, working stage, termination stage, and evaluation stage. 3) The effectiveness of the individual counseling model based on psychoeducational theory enhancing maternal role of adolescent mothers with High-risk newborns were as follows: 3.1 Statistically significant differences in total scores of the maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns of the experimental group were found after the experiment and before the experiment at .01 level. No significant differences existed after the follow up and after the experiment. Statistically significant differences were found after the experiment and before the experiment at .05 level. The total means score of the maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns after the experiment and after the follow up were higher than before the experiment. 3.2 Statistically significant differences in total scores of the maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns between the experimental group and control group were found after the experiment and after the follow up at .01 level. No significant differences existed before the experiment between these two groups. The total means score of the maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns after the experiment and after the follow up of the experimental group were higher than that of the control group. 3.3 Focus individual report of the experimental group showed that they were satisfied with the individual counseling model based on psychoeducational theory. The model efficacy could greatly promote new knowledge and understanding about the maternal role of adolescent mothers with high-risk newborns and also encouraged commitment to ongoing growth and positive change.

Downloads

How to Cite

1.
นิยมวัน ส, เกิดพิทักษ์ ผ, มาลากุล ณ อยุธยา ป. การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Jun. 22 [cited 2024 Mar. 29];18(suppl.1):239-50. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90347