การประเมินความต้องการจำเป็นของความผาสุกทางจิตวิญญาณ ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Authors

  • บุญทิวา สู่วิทย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • ขจี พงศธรวิบูลย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • ชูจิต หวังขจรเกียรติ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • สุณี พนาสกุลการ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Keywords:

การประเมินความต้องการจำเป็น, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ, Needs assessment, spiritual well-being, Head and neck cancer patients

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงประเมิน ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชจำนวน 86 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบ ประเมินความต้องการจำเป็นของความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) มีค่า IOC = 1 ค่าความเชื่อมั่น (reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s Alpha Coefficient) = 0.763 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และ กำหนดความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Prioritization Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่าความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, SD = 0.52) และทุกองค์ประกอบของความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอมีความ ต้องการจำเป็นของความผาสุกทางจิตวิญญาณ 3 อันดับแรกคือ 1) รู้สึกว้าวุ่นใจ กระวนกระวายใจ และไม่มีความสุข ตั้งแต่รับรู้ว่า ตนเองเจ็บป่วย (PNIModified = 0.86) 2) แม้จะได้รับการรักษาแล้วแต่เมื่อโรคมีอาการรุนแรงขึ้น ก็ยังคงรู้สึกทุกข์ทรมานใจมากขึ้น (PNIModified = 0.77) และ 3) รู้สึกกลัวทุกครั้งเมื่อนึกถึงความเจ็บป่วยที่รุนแรง (PNIModified = 0.70)

Needs Assessment of Spiritual Well-being in Head and Neck Cancer Patients, Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University

The present research was based on a descriptive-evaluative research design. The study was conducted in 86 head and neck cancer patients treated in the Ear, Nose and Throat Patient Ward, Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. The instrumentation for the research was composed of a needs assessment of spiritual well-being in head and neck cancer patients. The instrument passed content validity testing with an IOC = 1. The reliability had a Cronbach’s Alpha Coefficient = 0.763. The data was analyzed by descriptive statistics. Furthermore, the needs were set by using the Prioritization Needs Index (PNIModified). Findings: According to the findings, the spiritual well-being needs of head and neck cancer patients werehighoverall ( = 3.86,SD = 0.52)and every componentof spiritual well-being wasalsohigh. Nevertheless, head and neck cancer patients require the following three levels of spiritual well-being: 1) distraught, anxious and discontented feelings since awareness of the illness (PNIModified = 0.86); 2) even if treatment, when disease severity increases, feelings of suffering has been administered (PNIModified = 0.77) and 3) feelings of fear every time severe illness comes to mind (PNIModified = 0.70)

Downloads

How to Cite

1.
สู่วิทย์ บ, พงศธรวิบูลย์ ข, หวังขจรเกียรติ ช, พนาสกุลการ ส. การประเมินความต้องการจำเป็นของความผาสุกทางจิตวิญญาณ ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Aug. 21 [cited 2024 Mar. 28];18(2):194-202. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96865