ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยง หมู่ที่ 1

Authors

  • ยุภา พผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุวิมล แสนเวียงจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ พฤกษาชีวะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Keywords:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, Health Promotion Behavior, elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยคุณภาพ (Mixed model) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บ้านคลองโยง หมู่ 1 และปัจจัยเชิงลึกที่มีผลต่อผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อาศัยอยู่บ้านคลองโยง หมู่ที่ 1 จำนวน 70 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้างผู้ที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ระดับดี จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย มีดังนี้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ระดับดี เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่าการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โภชนาการและความรับผิดชอบต่อสุขภาพ อยู่ระดับดี กิจกรรมทางกาย และการจัดการความเครียดอยู่ระดับปานกลาง และปัจจัยเชิงลึกที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในผู้ที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ระดับดี พบประเด็นสำคัญ ได้แก่ ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของผู้ที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ความเชื่อและการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี งานอาชีพและรายได้ที่ไม่เกษียณ การมีครอบครัวที่ดี การมีแรงสนับสนุนที่ดีและการอาศัยอยู่กับธรรมชาติมาตลอดชีวิต

Factors Effecting Health Promotion Behavior in Elderly : In-Depth Factors Study in Ban Khlong Yong Moo 1

This research was mixed model of quantitative and qualitative research. The purpose of this study was to study health promotion behaviors among elderly and the in-depth factors effecting elderly health promotion behavior. The sample for quantitative study was 70 elderly aged 60 years or older, can help themselves and lives in Ban Khlong Yong Moo 1, the data were collected by questionnaire, data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation. The qualitative data were collected by interviewing; using unstructured interview questionnaires, the key informants were with 7 elderly health promoting behaviors is good level, data analyzed by content analysis. The results are as follows. Health promotion behavioral of older people overall are good. When analyzing each side, it was found that Spiritual development, Interpersonal relationship, Nutrition and Responsibility for health are good level. Physical activity and stress management are moderate level. The in-depth factors affect the health promoting behaviors of the elderly in those with good level of health promoting behaviors. Find key point include the characteristics feature of people with good health promoting behaviors, beliefs and practices based on the teachings of Buddhism, the lifestyle contribute to health promotion behaviors, career and non-retirement income, to have good family, to have good support and living with nature for life.

Downloads

How to Cite

1.
พผา ย, แสนเวียงจันทร์ ส, พฤกษาชีวะ ท. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยง หมู่ที่ 1. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Oct. 19 [cited 2024 Mar. 29];18(suppl.2):266-75. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101698