ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์อาการความดันโลหิตตก จากการเปลี่ยนอิริยาบถในผู้สูงอายุชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

Authors

  • อรพินท์ หลักแหลม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นุจรี ไชยมงคล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ประสบการณ์อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถ, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, การรับรู้ภาวะเจ็บป่วย, การเกาะติดย, า ผู้สูงอายุชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, Orthostatic hypotension experience, health perception, illness perception, medication adherence, Thai o

Abstract

ประสบการณ์อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับการมีอาการวิงเวียน ปวด ศีรษะน้อยๆ หรือเป็นลม เมื่อเปลี่ยนท่าทาง โดยทั่วไปจากการนั่งหรือนอนเป็นการลุกขึ้นยืน วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจำนวน 278 ราย อายุเฉลี่ย 70.5 ปีอาศัยอยู่ในเขตเมือง จังหวัดชลบุรีในปีพ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 5 ชุดเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ตอบเอง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง.70-.90. การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ภาวะสุขภาพมีอิทธิพลทางลบโดยตรงต่อ อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถ (β = -.23) การรับรู้ภาวะเจ็บป่วยและการเกาะติดยามีอิทธิพลทางบวกโดยตรง ต่ออาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถ (β = .27 และ β = .21 ตามลำดับ)และการรับรู้ภาวะเจ็บป่วยมีอิทธิพล โดยอ้อมต่ออาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถโดยผ่านทางการเกาะติดยา เส้นทางที่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งหมด สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 23.4%ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ภาวะเจ็บ ป่วย และการเกาะติดยา มีอิทธิพลต่อประสบการณ์อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดัน โลหิตสูงการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อลดประสบการณ์อาการความดันโลหิตตกจากการเปลี่ยนอิริยาบถโดยมุ่งเน้นให้มีการรับรู้ ภาวะสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รับรู้ภาวะเจ็บป่วยและการเกาะติดยาลดน้อยลง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

Factors Influencing Orthostatic Hypotension Experience among Thai Older Adults with Hypertension

Orthostatic hypotension (OH) experience isacause of dizziness, light headache or faintingwhen changing position, usually from a sitting or lying down to standing position. The purpose of this study was to determine factors influencing the impactof OH as experienced byolder adults withhypertension. The sample included 278 older adults diagnosed withhypertension. The subjects resided in Muang, Chon Buri province in 2016 and hada mean age of 70.5 years. Five self-report research instruments were used to collect data. Their reliability ranged from .70to.90. Descriptivestatistics and pathanalysis wereused toanalyze data.Results revealed that health perception had a negative direct effect on OH experience (β = -. 23). Illness perception and medication adherence had positive direct effects on OH experience (β = .27 and β = .21, respectively). Moreover, illness perception had a positive indirect effect on OH experience through medication adherence. Thetotal significant paths accounted for 23.4% of theexplained variance. Findings show thathealthand illness perception and medication adherence contributed to OH experience among older adults with hypertension. An intervention or activityaimed to decrease OH experience by focusing on increasing health perception and decreasing illness perception and medication adherence would be beneficial especially in the group of Thai older adults with hypertension.

Downloads

How to Cite

1.
หลักแหลม อ, ไชยมงคล น. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสบการณ์อาการความดันโลหิตตก จากการเปลี่ยนอิริยาบถในผู้สูงอายุชาวไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Aug. 21 [cited 2024 Mar. 28];18(2):38-46. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96834