ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองของเด็กวัยรุ่น ต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

Authors

  • ชญานิกา ศรีวิชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ภัทร์ภร อยู่สุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สาริณีย์ จินดาวุฒิพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การกำกับตนเอง, วัยรุ่น, เทคโนโลยีสารสนเทศ, self-regulation, self-efficacy, Adolescent, Information Technology

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองของเด็กวัยรุ่นต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุม พฤติกรรมการใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดมีกลุ่มเดียว วัดก่อน- หลังการทดลอง (One group pre-post test) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เพศหญิงและชายที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขตที่ 4 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน โดยวิธีการ คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Pair t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ผลการวิจัยพบว่าหลังการเข้าโปรแกรมการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ผลการวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการให้ความรู้แก่เด็กวัยรุ่น ให้มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับ การควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง ตลอดจนบิดา มารดาและ ผู้ปกครองที่จะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กวัยรุ่นมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างถูกต้องต่อไป

Effect of self-Regulation Program on Self-Efficacy Toward Control on Information Technology Using among Adolescents

The objectives of this research were to study an effect of self-regulation program on self-efficacy toward control on Information Technology Using among adolescents. The study was a one group pre-post test by quasi-experimental research. A sample of 60 cases were draw from high school students on Information Technology Using, under the secondary education Service by purposive sampling during July- December 2016. Data were analyzed by Pair t-test. These findings indicated that the samples significantly increased self-regulation on Information Technology Using (p = .01). These researchfindings can beused as a guideline for activities educating planning inadolescents, to have self-efficacy toward controlonInformationTechnology Using,not affect totheirhealthincluding parents and guardians but to encourage self-efficacy’s adolescent control on Information Technology Using correctly.

Downloads

How to Cite

1.
ศรีวิชัย ช, อยู่สุข ภ, จินดาวุฒิพันธ์ ส. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองของเด็กวัยรุ่น ต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. J Royal Thai Army Nurses [Internet]. 2017 Aug. 21 [cited 2024 Mar. 29];18(2):110-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/96852