ปัจจัยอันตรายในการทำงานและ ภาวะสุขภาพของคนงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา

Main Article Content

วันเพ็ญ ทรงคำ, Ph.D. (Public Health)
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, Ph.D. (Community Health)
ธานี แก้วธรรมานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย อันตรายในการทำงานและภาวะสุขภาพของคนงานผลิต เครื่องปั้นดินเผา กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานผลิตเครื่องปั้น ดินเผาในจังหวัดเชียงใหม่ จำานวน 307 ราย รวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และ แบบสอบถามปัจจัยอันตรายในการทำางานและภาวะสุขภาพ ของคนงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่มีค่าดัชนีความตรง ตามเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในระดับ ที่ยอมรับได้ (0.98 และ 0.93 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยอันตราย ในการทำงานที่ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดทาง สุขศาสตร์อุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่น เสียงดัง และความร้อน ไม่มีค่าใดเกินค่ามาตรฐาน มีเพียงความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณจุดทำงานร้อยละ 67.14 ของจุดตรวจวัดที่ต่ำกว่า มาตรฐาน ในส่วนปัจจัยอันตรายในการทำงานตามการ รับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ว่า มีปัจจัยอันตรายในการทำงาน ได้แก่ ฝุ่น (ร้อยละ 91.86) เสียงดัง (ร้อยละ 90.23) ท่าทางการทำงานซ้ำ ๆ (ร้อยละ 66.12) และมีการบิดหรือเอี้ยวตัวในขณะทำางาน (ร้อยละ 61.88) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.17 รับรู้ภาวะสุขภาพทั่วไปอยู่ใน ระดับปานกลาง ส่วนภาวะสุขภาพจากการทำางาน พบอาการ ผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อมากที่สุด ประกอบด้วย อาการปวดมือ แขน ไหล่ (ร้อยละ 89.58) ปวดหลัง (ร้อยละ 85.99) ปวดคอ (ร้อยละ 85.34) และปวดขา (ร้อยละ 81.11) ปัญหาสุขภาพของผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คัน ผื่นตามผิวหนัง (ร้อยละ 67.85) น้ำมูกไหล ไอ จาม และแสบ จมูก (ร้อยละ 67.1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14 ได้รับบาดเจ็บ ที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา

Article Details

บท
บทความวิจัย