ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก ในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

วรรณา สุขเกษม, วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
เยาวภา ติอัชสุวรรณ, Dr.PH.(Public Health Education)

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านประชากรและสังคม (2) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน อาชีพ (3) การรับรู้ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการทำงาน และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับความพึง พอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการศึกษาเจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกทั้งหมด จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามให้ตอบ ด้วยตนเองสำาหรับเก็บข้อมูลปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานอาชีพ การรับรู้ปัจจัยจูงใจและ ปัจจัยค้ำจุนในการทำางาน และความพึงพอใจในการทำงาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 การ ดำเนินการวิจัยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่ม เป็นอิสระจากกัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 และเพศหญิง ร้อยละ 46.7 สัดส่วนที่อายุ 31-40 ปี มีสูงสุด ร้อยละ 43.3 อายุเฉลี่ย 34.37 อายุต่ำสุด/ สูงสุด เท่ากับ 21/54 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด ร้อยละ 73.3 และ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 86.7 (2) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานอาชีพ พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยา คลินิกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ร้อยละ 53.3 สัดส่วนที่ทำงาน ในหน่วยงานปัจจุบันมานาน 11-15 ปี และนาน 21-25 ปี มีเท่า ๆ กัน เท่ากับร้อยละ 23.3 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานทั้ง เวลาราชการปกติและเข้าเวรเช้า-บ่าย-ดึก ร้อยละ 73.3 (3) การรับรู้ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในการทำางาน พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก รับรู้ปัจจัยจูงใจในการ ทำงานโดยรวม และรับรู้ปัจจัยค้ำจุนในการทำางานโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (4) ความพึงพอใจในการทำงาน พบว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกมีความพึงพอใจในการทำางานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (5) ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับความพึงพอใจในการทำางานพบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างการรับรู้ปัจจัยค้ำจุนในการทำงานโดยรวม และรายด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน และด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน และความพึงพอใจในการทำงาน ตามช่วงเวลาปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากระหว่างการรับรู้ ปัจจัยจูงใจในการทำางานโดยรวม การรับรู้ปัจจัยค้ำจุนในการ ทำงานโดยรวม กับความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ข้อเสนอแนะเชิงการบริหารหน่วยงาน คือ จัดตารางการปฏิบัติงานเข้าเวรเช้า-บ่าย-ดึกของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกให้มีความเท่าเทียมกัน และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานที่มีเทคโนโลยีทันสมัยสำหรับช่วยส่งเสริมการทำงานให้ปลอดภัย รวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย