วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์ (Focus and Scope)

วารสาร JSSE (ISSN 2586-9256 (Print) and ISSN 2697-410X (Online)) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย (research articles) บทความวิชาการ (academic articles) หรือบทความปริทัศน์ (Review articles) ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (ซึ่งหมายรวมถึงทั้งวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา เทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา) และด้านวิทยาศาสตร์ทุกสาขา (เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทั้งบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ วารสาร JSSE จัดอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศึกษา (Main subject categories: Social Sciences) สาขาวิชาสังคมศึกษา (Subject areas: Social Sciences) และอยู่ในสาขาวิชาย่อยด้านการศึกษา (Sub-subject: Education) นอกจากนี้ ยังมีสาขาวิชาย่อยเพิ่มเติมอีก 4 สาขาวิชาย่อยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Main subject categories: Physical Sciences) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. สาขาวิชาย่อยด้านการศึกษา (Sub-subject: Education) ในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศึกษา (Main subject categories: Social Sciences) สาขาวิชาสังคมศึกษา (Subject areas: Social Sciences)
  2. สาขาวิชาย่อยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Main subject categories: Physical Sciences) ได้แก่ (1) เคมีทั่วไป (2) คอมพิวเตอร์ทั่วไป (3) คณิตศาสตร์ทั่วไป และ (4) ฟิสิกส์และดาราศาสตร์ทั่วไป

โดยลักษณะของบทความที่จะนำเสนอเพื่อขอลงตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องมีสาระที่น่าสนใจ เป็นงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน ทั้งนี้ ทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (double blind peer review process) ผลงานที่ได้รับการพิจารณาลงพิมพ์ในวารสารจะต้องมีสาระน่าสนใจ เป็นงานที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัย และต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน ทั้งนี้ วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษามีกำหนดเผยแพร่บทความปีละ 2 ฉบับหรือเล่ม โดยฉบับที่ 1 เป็นเผยแพร่บทความระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เผยแพร่บทความระหว่าง กรกฎาคม – ธันวาคม ในกรณีที่มีกิจกรรมหรือโอกาสพิเศษของคณะวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทางกองบรรณาธิการอาจจะมีการพิจารณาเผยแพร่ฉบับพิเศษ (Special Issue) นอกเหนือจากฉบับปกติเป็นรายกรณีไป

จริยธรรมการวิจัย (Research Ethics)

ผู้เขียนจะต้องระบุการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (หรือจริยธรรมการวิจัยในสัตว์หรือในพืชหรือจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง) พร้อมใส่หมายเลขใบรับรองด้วย (ถ้ามี) ในกรณีที่ไม่มีการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากสถาบัน ให้อธิบายเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรมจริยธรรมการวิจัย และ/หรือการดำเนินการวิจัยที่แสดงถึงการไม่ขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ เช่น การได้ขอความยินยอมโดยใช้เอกสารจากผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence) และหลักความยุติธรรม (Justice) เป็นต้น

ทั้งนี้ ทางกองบรรณาธิการมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การส่งเสนอ manuscript ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ ดังนี้

  1. กรณีที่ไม่จำเป็นต้องส่งเอกสารรับรองจริยธรรมในมนุษย์หรือสัตว์ ได้แก่
    • บทความที่ไม่ใช้เพื่อประกอบการขอสำเร็จการศึกษาหรือขอตำแหน่งทางวิชาการ เช่น งานวิจัยในชั้นเรียนระดับปริญญาตรี ให้เอกสารรับรองการปฏิบัติตามจริยธรรมในมนุษย์โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขาลงนามรับรอง
    • บทความงานวิจัยการค้นคว้าอิสระหรือสารนิพนธ์ (6 หน่วยกิต) ที่ใช้เพื่อขอสำเร็จการศึกษา ให้ส่งเอกสารรับรองการปฏิบัติตามจริยธรรมในมนุษย์ โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าสาขา/ประธานหลักสูตรลงนามรับรอง
  2. กรณีที่ต้องส่งเอกสารรับรองจริยธรรมในมนุษย์หรือสัตว์ ได้แก่ บทความที่จะใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทั้งกรณีอาจารย์และครู
  3. กรณีที่กองบรรณาธิการจะพิจารณายกเว้น/ไม่ยกเว้นการส่งเอกสารรับรองจริยธรรมในมนุษย์หรือสัตว์ ได้แก่ งานวิจัยวิทยานิพนธ์ที่ใช้ประกอบการขอสำเร็จการศึกษา ซึ่งผู้เขียนต้องเขียนอธิบายให้อธิบายเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรมจริยธรรมการวิจัย และ/หรือการดำเนินการวิจัยที่แสดงถึงการไม่ขัดต่อจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป

การตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (JSSE’s Plagiarism Policy)

JSSE ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น โดยทุกบทความต้นฉบับจะถูกตรวจสอบด้วยระบบ CopyCatch หรือ Copyright, Academic Work and Thesis Checking System โดยอัตโนมัติ และอาจจะมีการพิจารณาตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์เพิ่มเติมอีกด้วย นอกจากนี้ ทางกองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความยังมีการตรวจสอบเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านี้อีกด้วย

กระบวนการพิจารณาบทความ (Peer Review Process)

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Publication Charge)

วารสารได้ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ (Article Processing Charge) บทความละ 1,500 บาท โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้เฉพาะบทความต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการวารสาร ก่อนที่จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการดำเนินการบทความตั้งแต่ วารสารปีที่ 6 พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ การชำระค่าธรรมเนียมการพิจารณาบทความ ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าบทความดังกล่าวจะได้รับการเผยแพร่ใน JSSE แต่อย่างใด ดังนั้น บทความที่จะได้รับการเผยแพร่ใน JSSE จะต้องผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตามปกติ

ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (คณะวิทยาศาสตร์)
เลขที่ 869-3-00127-7 ธนาคารไทยพาณิชย์
บันทึกช่วยจำ/หมายเหตุ: จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเฉพาะบทความต้นฉบับที่บรรณาธิการวารสารพิจารณาเบื้องต้นแล้วว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของวารสาร จึงจะส่งต่อไปยังกระบวนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบทความต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของวารสาร

ประเภทของบทความ (Types of articles)

บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) และบทความปริทัศน์  (review article) 

ภาษาที่รับตีพิมพ์ (Language)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

กำหนดออก (Publication Frequency)

วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี 

  • ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

เจ้าของวารสาร (Publisher)

  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี