ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง Economy of Profitability in Animal Production and Social Community Applied Research of Sufficient Economy Philosophy on the Sustainable of Life

Main Article Content

ฐิตาภรณ์ คงดี และคณะ Titaporn Khongdee and Others
พิษณุ บุญนิยม,
สมชาย ศรีพูล,
ชาญวิทย์ วัชรพุกก์

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนผสมผสานระหว่างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนกับ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการวางแผนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง  2 เงื่อนไขโดยใช้การบริหารวงจรคุณภาพ PDCA โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า  1. การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนผสมผสานระหว่างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการลดรายจ่ายครัวเรือน ด้านการประหยัด ด้านการเอื้ออารีต่อกันชุมชน ด้านการเพิ่มรายได้ และครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามลำดับ 2. ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการวางแผนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขโดยใช้การบริหารวงจรคุณภาพ PDCA พบว่า การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการวางแผนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขโดยใช้การบริหารวงจรคุณภาพ PDCA ในทางบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 


            This research aims to study the implementation in accordance with the philosophy of integration between economic returns and social animal, integrated works sufficiency. The relationship between education and practice the principles of the sufficiency economy philosophy. Develop a learning plan for the philosophy of Sufficiency Economy 3 sts 2 conditions using quality management PDCA cycle by studying a sample of 140 people used a questionnaire. A 5-level rating scale data analysis software packages. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation. And test the correlation, Pearson.The research found that  1. Practice the principles of the sufficiency economy combine economic returns and social animal, integrated works sufficiency.The overall high level.Sort by descending below the lower income households. The savings The generosity of the community. The revenue increase Household appliances and technologies accordingly.   2. To test the relationship between adherence to the philosophy of development resources planning, along the Philosophy of 3 sts 2 conditions by administering a quality PDCA found to behave. according to the philosophy of all aspects associated with the development of a learning plan along sufficiency 3 sts 2 Langen.Title conditions using quality management PDCA cycle of positive aspects.The statistical significance level. 0.05.


 

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงมหาดไทย. (2551). รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกระทรวงมหาดไทยรอบ 1 ปี. คณะกรรมการอำนวยการขับขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย.

กฤษณ์สัมพันธ์ เมนะสูต. (2560, มิถุนายน 26). แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มติชน: 7.

ขนิษฐา กาญจนรังษีนนท์. (2542). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยอนันต์ สมุทวนิช. (2541). ทฤษฎีใหม่:มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด.สถาบันนโยบายการศึกษา.

นพพร เมธีอนันต์กุล. (2549). การนำแนวปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต:กรณีศึกษาเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธวัชชัย พืชผล. (2549). รักในหลวงต้องทำเพื่อในหลวง. กรุงเทพฯ: Read & Share.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ประชาคม ประชาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2549). ในหลวง ฯ กษัตริย์นักพัฒนาผู้ยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ: บุ๊คสไมล์.

พุทธินันท์ สุขพรวรกุล. (2549). จากภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ปฏิบัติการพึ่งตนเอง. นนทบุรี: โครงการชุมชนเป็นสุข.

พรชนก ทองลาด และสุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2559). โครงสร้างความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงการบริหารตนต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11(31), 17-32.

วัฒน์ ระวี. (2549). เมื่อฟ้าโอบและแผ่นดินอุ่นขอตามรอยบาทพ่อที่พอเพียง. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. (2544). ตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สมพร เทพสิทธา. (2549). ดวงประทีปจากพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2546). การพัฒนาแบบยั่งยืน. นนทบุรี: เพชรรุ่งการพิมพ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย : ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

สิน พันธุ์พินิจ. (2544). การยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร ตามโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรภาคกลางประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. วารสาร Productivity World. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.ftpi.or.th.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2560). บันได 7 ขั้น...ต่อยอดพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/1117385

อภิพรรณ พุกภักดี. (2544). เกษตรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์.