ผลการใช้ชุดฝึกอบรมผู้ปกครองเรื่องการสร้างวินัยเชิงบวกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท Effectiveness of the utilization of the parent training package aiming to develop positive discipline and self-confidence in young children through parental involvement at the Child Development Centers under Local Administration Organizations at the Mueang Chainat District, Chainat Province Thailand

Main Article Content

พัชรา พุ่มพชาติ Patchara Poompachati

Abstract

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมผู้ปกครองเรื่องการสร้างวินัยเชิงบวกผ่านกระบวน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมผู้ปกครองที่มีต่อวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด (Control-Group Interrupted Time-Series Design) (Creswell, 2003 : 169) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 2-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านกล้วย จำนวน 30 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอนุบาลเมืองชัยนาท จำนวน 30 คน รวม 60 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงแล้วนำมาจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมผู้ปกครอง  แบบประเมินความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ปกครอง  แบบประเมินความคิดเห็นสำหรับผู้ปกครอง  แบบสังเกตวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตความเชื่อมั่น         ในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ Dependent t-test และ Independent  t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดฝึกอบรมผู้ปกครองทุกองค์ประกอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมผู้ปกครองได้  (2) ผลการใช้ชุดฝึกอบรมผู้ปกครอง พบว่า 1) เด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองมีวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  2) เด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองมีวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าเด็กปฐมวัยในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05   3) เด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของวินัยในตนเองและความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ และมีความคงทนของพฤติกรรมในระยะติดตามผลการทดลอง 4) ผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  และผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก    


                  This study was aimed to 1) develop a parent training package to promote positive discipline in young children through parental involvement processes and 2) examine the influences of using the package on discipline and self-confidence of the young children. The study employed a control-group interrupted time-series design (Creswell, 2003, p.169), while the participants were 60 parents and young children aged between 2-3 years old at Baan Kluay Municipality Child Development Center and Mueang Chinart Child Development Center. Purposive sampling selection was applied and in the later phase they were categorized into a treatment group and a control group through drawing lots. The research tools were a parent training package, a parent’ knowledge and understanding assessment form, and a set of questionnaire. A self-discipline observation form and a self-confidence observation form were employed to gain data from the young children. Data analysis was performed through percentage, mean , standard deviation (SD), dependent t-test and independent t-test as well as content analysis.


                To serve the research objectives, the results included two areas. First, the assessment of the relevancy of the parent training package found that all of the relevant indexes are higher than the criteria and was an effective method for parent training. Meanwhile, from the analysis of the influences of using the package on the discipline and self-confidence of the young children it was obviously that 1) after the experiment the young children in the treatment group had more discipline and self-confidence at the significant level .05, 2) the children in the treatment group had more discipline and self-confidence than the children in the control group at the significant level .05, 3) the treatment group had constantly higher discipline and self-confidence, 4) the retention of the young children’s behaviors of self-discipline and self-confidence is also obvious during the follow-up phase. For the parents, it was found that their knowledge and understanding before and after the training were significantly different at .05, and they had high satisfaction of the package.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). แนวแนะการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นต่อแนวแนะการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง วันที่ 12 ตุลาคม 2558. กรุงเทพฯ: กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การฝึกวินัยเด็ก การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โจน อี เดอร์แรนท์. (2007). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง จำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). ชุดการสอน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://inno-sawake. blogspot.com/2008/07/1.html.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภเนตร ธรรมบวร. (2541). บทบาทของครอบครัวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

นฤมล เนียมหอม. (2549). การพัฒนากระบวนการส่งเสริมพฤติกรรมของครูในการสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการสะท้อนความคิดและการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปิยวลี ธนเศรษฐกร และปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2554). 101 เคล็ดวิธี สร้างเด็กดี มีความสุข. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2556). การวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สมจิตนา คุปตสุนทร. (2547). การศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). สิทธิเด็กตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). พัฒนาเด็กปฐมวัย รากแก้วแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

องค์การยูนิเซฟ. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.

อัญชลี ฉิมพลี. (2551). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่า นิทานประกอบการแสดงละครสร้างสรรค์และประกอบการวาดภาพ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

อัญชลี ไสยวรรณ. (ม.ป.ป.). การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560, จากhttp://www.e-child-edu.com/youthcenter/downloads/ content/developing-confidence-in-their-children-s-early.pdf.

อรชา ตุลานันท์ และอรุณี หรดาล. (2555). ผู้ปกครองกับการจัดการปฐมวัยศึกษา ใน ประมวลสาระชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรทัย ศักดิ์สูง. (2552). ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ของ มัลคัม โนลล์ (Andragogy Theory of Malcolm Knoles. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/ news/detail.php

Creswell, John W. (2003). Research Design. California : Sage.

Delahaye, Brian L. (2000). Human Resource Development : Principles and Practice. Melbourne: John Wiley & Son.

Dolasinski, M. J. (2004). Training the Trainer : Performance-base for Today’s Workplace. New Jersey: Pearson Education.

Durant. (2007). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้โจน อี เดอร์แรนท์. กรุงเทพฯ: คีน มีเดีย (ประเทศไทย).

Glatthorn & Fox. (1996). Quality Teaching Through Professional Development. California: Corwin Press, Inc.

Milano, Michael.; & Ullius, Diane. (1998). Designing Powerful Training. Francisco: Jossey/Pfeiffer.

Nelsen. (2006). Positive Discipline for Preschooler. New York: Penguin Random House Company.