การเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะในสังคมไทยด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 Enhancing Public Mind ethics moral behavior in Thai Society by 4 Sangahavatthu

Main Article Content

สุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ Sureephon sae-eab
พลพจน์ เชาว์วิวัฒน์ Polpojna Chaowiwat

Abstract

          บทความวิชาการนี้มุ่งเสนอการนำหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ การให้ การเจรจาไพเราะอ่อนน้อม การประพฤติเป็นประโยชน์และการวางตัวสม่ำเสมอมาเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะในสังคมไทยด้วยแรงจูงใจภายในที่สำคัญคือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขที่จะส่งผลให้ผู้มีจิตสาธารณะได้รับความสุขที่แท้จริงอย่างเป็นอิสระ จิตสาธารณะเป็นการแสดงพฤติกรรมฝ่ายดีที่เป็นคุณธรรมจริยธรรมด้านความเสียสละเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นในสังคมให้พ้นจากความทุกข์ยากเดือดร้อน ผู้มีจิตสาธารณะเป็นบุคคลที่มีคุณค่าแท้น่าคบหาสมาคมจึงควรค่าแก่การเชิดชูยกย่อง และปลูกฝังให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลทั่วไปเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านกายภาพและภายในจิตใจทำให้จิตใจมีคุณธรรมที่สูงขึ้น อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติเพื่อสร้างประโยชน์สุขทั้งตนเองและสังคมส่วนรวม


           This article aims to represent the principle of the 4 Sangahavatthu consisting of Giving, Kindly Speech, Useful Conduct, Even and Equal Treatment as to enhance the moral behavior of public mind in Thai society. With an intrinsic motivator, it is a desire to see happiness in others causing unattached individual to have a real happiness for those who possess public mind. Public mind expresses good behavior as moral ethics in sacrificing oneself to help others in the society to be free from misery and suffering. The people with public mind is a valuable person and worth praising. Therefore, there should be cultivation of public mind for people to develop themselves both physically and mentally to earn a higher moral state of mind. This gives an impact on the national development and for the benefit of both individual and the society.

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

สุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ Sureephon sae-eab, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). อรรถกถา ภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค 1 พระพุทธโฆสเถระ รจนา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คิด ฉัตรประภาชัย. (2560). จิตอาสา… หนทางอยู่ร่วมกันในสังคม. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560. จาก http://live. siammedia. org/index. php/article/kid/ 15395.

ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสําหรับคนไทย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการ เรื่องการใช้สืบค้นและการผลิต ผลงานวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อประโยชน์แก่สังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปิยะนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนจิตอาสา ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม: กรณีศึกษา สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

_______. (2551). พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบรรลือธรรม.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ประกาศ เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก 30 ธันวาคม 2559.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลักษิกา นาไข่ และอังคณา อ่อนธานี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคม และสิ่งแวด ล้อม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(2), 174-189.

สสส. (2560). 8 เส้นทางสู่ความสุข ความสุขจากงานจิตอาสา. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560. จาก http://www.happinessisthailand. com/ 2014/05/%.

สรณีย์ สายศร. (2556). การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2550). ทานและการอาสาสมัคร. มติชน 18 มิถุนายน, 3.

สุพจน์ ทรายแก้ว (2546). จิตสำนึกสาธารณะ การก่อรูปและกระบวนการเสริมสร้าง. วารสารเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์. 4, 55.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2542). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.