ประชาธิปไตยไทยนิยม Thai Popular Democracy

Main Article Content

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ Thirapat Serirangsan

Abstract

             บทความวิชาการเรื่อง “ประชาธิปไตยไทยนิยม” เป็นบทความที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ อาทิ ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยตัวแทน กึ่ง ประชาธิปไตย (หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ ที่คนไทยนิยมใช้เรียกระบอบเผด็จการอำนาจนิยม) รวมทั้งระบอบการเมืองที่มีการนำเสนอโดยผู้นำทางการเมืองของประเทศไทยปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) ว่า “ระบอบประชาธิปไตยไทยนิยม” ทั้งนี้เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับระบอบการเมืองในชื่อดังกล่าวว่ามีความหมายอย่างไร และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆในสังคมไทยอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของระบอบประชาธิปไตยของไทยในอนาคตข้างหน้าว่าเรากำลังจะเดินไปในทิศทางใด


             ระบอบประชาธิปไตยทางตรงในยุคคลาสสิคได้ถือกำเนิดขึ้นหลายร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชในนครรัฐกรีก โดยการเปิดโอกาสให้พลเมืองทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง หลังจากนั้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ระบอบประชาธิปไตยตัวแทนจึงถือกำเนิดขึ้นซึ่งเราเรียกว่ากระแสคลื่นลูกที่หนึ่ง โดยเฉพาะประชาธิปไตยใน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เป็นต้น ต่อมากระแสคลื่นลูกที่สองได้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งถึงต้นทศวรรษ 1960 ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ประเทศที่พ่ายแพ้สงครามถูกทำให้เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนีตะวันตก อิตาลี และญี่ปุ่น และพันธมิตรยุโรปตะวันตกในระหว่างสงคราม  รวมทั้งประเทศเกิดใหม่อย่างอิสราเอล และประเทศที่ได้รับเอกราชจากการตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจในอดีตโดยเฉพาะอังกฤษ ได้แก่ อินเดีย เป็นต้น


              กระแสคลื่นลูกที่สามของการทำให้เป็นประชาธิปไตยเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1974 และต่อเนื่องไปจนถึง ค.ศ. 1991 โดยปัจจัยสำคัญคือการสิ้นสุดของการปกครองโดยเผด็จการฝ่ายขวาในประเทศยุโรปตอนใต้ อาทิ กรีซ โปรตุเกส และสเปน ในทศวรรษ 1970 และในบรรดาประเทศละตินอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1980 ติดตามด้วยการล่มสลายของสหภาพเวียตและบรรดาประเทศบริวาร โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ในช่วงปลายของทศวรรษ 1980 ภายใต้กระแสคลื่นลูกที่สามนี้ หลายประเทศในหลายทวีปต่างปรับเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยใหม่ เหลือเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” หรือ “กึ่งประชาธิปไตย” ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย 


              โดยในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน มีการกล่าวขานนามของระบอบการเมืองแบบใหม่ว่า “ประชาธิปไตยไทยนิยม” ซึ่งคงไม่ต่างอะไรจากคำกล่าวขานในอดีตที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือประชาธิปไตยจำแลงนั่นเอง การเมืองของประเทศไทยยังอยู่ในวังวนระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย ในขณะที่โลกพัฒนาการไปข้างหน้าและประเทศส่วนใหญ่ต่างก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มากขึ้น ประเทศไทยกำลังติด “กับดัก”ของตนเอง โดยย่ำเท้าอยู่กับที่ระหว่างประชาธิปไตยครึ่งใบกับประชาธิปไตยจำแลงที่แปลงกายด้วยนามที่ไพเราะว่า “ประชาธิปไตยไทยนิยม”ทำให้ประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศที่ล้าหลังและตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย และไม่อาจฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้


            According to the article “Thai popular democracy”, the main purpose is to identify the characteristic of democracy in different ways such as direct democracy, representative democracy and semi-democracy, including Thai popular democracy that is currently presented by Thai political leader. This would be demonstrated in details regarding to the concept and its criticism in order for prediction the trend of Thai political democracy to come about in a near future.


            In classical period, the idea of direct democracy  is the most significant contributions of the ancient Greeks which offered the people to decide on the policy initiatives directly. After that, representative democracy was begun as a first wave of democracy in the 18th and 19th century, particular in the United States of America and, the United Kingdom and France, following by West Germany, Italy, Japan, Israel and the country in West Europe together with country colonized by British as India


           The third wave of democracy had started in the year of 1974 and continuing to 1991, there was a termination of right-wing politics in various countries in South Europe naming Greece, Portugal and Spain (1970), Countries in Latin America (1980), and coming after by the dissolution of the Soviet Union and its protectorate, specifically in East Europe at the end of the year 1980.


           Because of the third wave phenomenon, there is a transformation of many states to new democracy, nevertheless some countries have still been semi-democracy. Take Thailand for example and named as Thai popular democracy.


           Most importantly, the rapid development experiences in today’s world and many countries have been under the complete democratic government, while Thailand has been ruled by a military junta which are semi-democracy and dictatorship that is known as Thai popular democracy. This would mean that Thailand government dragged its feet in the development and hardly changes as unrecoverable country.

Article Details

Section
Academic Articles

References

เกษียร เตชะพีระ. (2550). รัฐประหารกับประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ข่าวสด. (2561). ประชาธิปไตยไทยนิยม หัวหน้าคสช.สั่งลุยตีปี๊บ นักวิชาการ-ส.ส.วิพากษ์. แหล่งที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/people/news_716450 [27 มกราคม 2561]

ไทยรัฐ. (8, มีนาคม, 2561). 'บิ๊กตู่' แจงนิยาม 'ไทยนิยม' เข้าใจประชาธิปไตยที่ถูกต้อง- ทำสิ่งดีงาม. แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1178607 [9 มีนาคม 2561]

บีบีซีไทย. (บีบีซีไทย, 19 มิถุนายน. 2560). ทิศทางการเมืองโลก ทิศทางการเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ. แหล่งที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-43137043 [23 กุมภาพันธ์ 2561]

บีบีซีไทย. (21 กุมภาพันธ์ 2561). “ประชาธิปไตยไทยนิยม” ขวดใหม่ของเหล้าเก่า “ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ”. แหล่งที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-43137043 [23 กุมภาพันธ์ 2561]

Aristotle. (1962 edn). The Politics. Trans. T. Sinclair (Harmondsworth and Baltimore. MD: Penguin.

Dahl,Robert. (2000). A Democratic Paradox?, Scandinavian Political Studies. (23).

Dahl, Robert A. (2001). How Democratic is the American Constitution? (New Haven. CT and London: Yale University Press.

Finer, (1997). The History of Government from the Earliest Times, 3 yols. (Oxford and New York:Oxford University Press).

Finley,M. (1985). Demoracy Ancient and Modern. (London: Hogarth Press).

Hague,Rod & Harrop, Martin .(2004). Comparative Government and Politics:An Introduction. 6th Edition. Palgrave Macmillan.

Hansen, Mogens Herman (1991). The Athenian Democracy in the Age of Demosthenes. (Oxford and Cambridge,MA: Blackwell).

Held,D. (1996). Models of Democracy. 2nd edn. (Cambridge: Polity).

Hungtington, S. (1991). The Third Wave : Democratization in the Late Twentieth Century. (Norman, OK and London: University of Oklahoma Press).

Jones, A.H.M.(1957). Athenian Democracy. Oxford: Oxford University Press.

Lyon, D.( 2003). Surveillance after September 11 (Cambridge and Cambridge). MA:Polity).

Madison, J. (1787) (1970 edn). “The Federalist,No. 10” in A Hamilton, J. Madison and J.Jay The Federalist or, The New Constitution. (London:Dent and NewYork Packet, November 23.

Paine, Thomas. (1969). The Right of Man. ed. H. Coollins (Penguin Books, Harmondsworth.)

Stockton, David. (1990). The Classical Athenian Democracy. Oxford: Oxford University Press.