การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชน Local Participation in Changing Undesirable Behaviors of Youth

Main Article Content

กัญญ์วรา มูลยะ และคณะ Kanwara Moonya and Others

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเขลางค์นครและเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว จังหวัดลำปาง โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ การซักถามพูดคุยกับคณะทำงานโครงการพัฒนาหน่วยจัดการดูแลรายกรณี (Case Managament Unit : CMU) เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองเขลางค์นครและเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว จำนวน 25 คน เด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาในพื้นที่เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว จำนวน 10 คน และกลุ่มเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า โดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูล เพื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้วิจัยเองและผู้ให้ข้อมูล ก่อนนำมารวบรวมเพื่อวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่   


            ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการและวิธีการการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเขลางค์นครและเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานราชการ ชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครศิษย์เก่า และครอบครัวในการร่วมกันแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเยาวชน มีระบบฐานข้อมูลของเยาวชนที่สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ มีแผนยุทธศาสตร์รองรับการทำงานที่เน้นการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน และได้บรรจุโครงการการแก้ปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเยาวชนเข้าสู่แผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเยาวชนอย่างยั่งยืน


            The purpose of this study was to investigate the process and methods of local participation in solving the problem of undesirable behaviors of youth in Khelang Nakorn Municipality and Bo Haew District, Lampang Province. A qualitative research methodology was used, including interviews, and questioning of working Group Development of Case Management Unit to prevent and solve problem of underprivileged children in Non-formal Education, and At-risk children in Formal Education, Khelang Nakhon and Bo Haew municipalities 25 people, underprivileged children Non-formal Education 10 people and At-risk children in Formal Education 1 people including 36 people. Once the data has been obtained, then use a triangular data validation method. Triangulation by exchanging information with the data provider. To check the data of the researcher itself and the contributors. Before being collected for analysis and classification.


            The process and methods of local participation in problem-solving concerning undesirable youth behaviors employed participatory processes from different sectors in the area, e.g. government agencies, schools, volunteer militia, and families. This included a database of youth for use in implementing activities appropriate for the target groups; strategic plans for work that focus on social development, quality of life, and community strength; and a program for solving undesirable youth behaviors incorporated in the local administration plan to prevent and solve such problems.

Article Details

Section
Dissertations

References

คัมภีร์ วชิรเขื่อนขันธ์. (2556). เด็กไทยในวังวนความรุนแรง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจียมจิต แสงวงศ์. (2553). การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดวงรักษ์ นวสมบัติ และคณะ. (2552). ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรัฐประศาสตศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีตถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

เบญจวรรณ บุญยรัตน์. (2546). ความร่วมมือของชุมชนในการจัดการสวนสมเด็จย่า 90 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประเวศ วะสี. (2551). ยุทธศาสตร์ อบต. จุดเปลี่ยนประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ภาคิน หนูฟุ่น. (2552). กระบวนการปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนในตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. (2557). สรุปสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคเหนือ ปี 2556. ลำปาง : หจก.ลำปางบรรณากิจพริ้นติ้ง.

สถาบันรามจิตติ. (2554). “ชีวิตเสี่ยงของเด็กไทย” ใน เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.). (2554). แนวทางสนับสนุนจังหวัดตามแผนปฏิรูปประเทศไทย ด้านการศึกษา ปี 2554 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา และเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาในระดับท้องถิ่น. จาก https://www.phuketcity.org/manual/5.pdf

สมคิด กอมณี และคณะ. (2549). การศึกษาผลการประเมินพฤติกรรมตนเอง(SDQ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 1(1), 89-95.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2551). จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น. วารสารประชาคมวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 81.

Cohen, John M. and Uphoff. (1980). “Norman Participation’ s Place in Rural Development; Seeking Clarity through Specificity”. World Development. p.219-22.

Dvv international. (2011). ADULT EDUCATION AND DEVELOPMENT.

Goodman R (1997). “The Strengths and Difficulties Questionnaire: A Research Note. Journal of Child Psychology and Psychiatry”. p.581-586. จาก https://www.sdqinfo.com/a0.html