ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงอายุ The Effects of Mental Health Encourage Program on the Five-dimensional Psychological Happiness Model to Develop the Quality of Life and Happiness of the Elderly

Main Article Content

พัชรี ถุงแก้ว Patcharee Thungkaew

Abstract

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงอายุของชุมชนบ้านหัวสะพาน ตำบล  บ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครที่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบวัดความสุข มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .88 แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92 และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


                ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยความสุขหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ มีคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


           This research is a quasi-experimental research by one-group pretest -posttest design. The purpose of this study effects of mental health encourage program on the five-dimensional psychological happiness model to develop the quality of life for the elderly and to improve the mental quality of the elderly in Ban Huasapan, Ban Yang District, Phutthaisong District, Buriram Province.  Samples were volunteers who were elderly over 60 years old by purposive sampling. The instruments used in this study included the happiness measure the reliability was .88 and .92 for the mental health test and quality of life test. The program on the five-dimensional psychological happiness model by 10-week activity.  Data were analyzed using descriptive statistics; percentage, mean, standard deviation and paired t-test.


                The results found that the overall quality of life after participating in the mental health encourage program with the five-dimensional psychological happiness model was significant higher at .05 level (= 81.93) and mean scores of happiness after attending the mental health encourage  program with the five-dimensional psychological happiness model were significant higher at the .05 level (= 53.03)

Article Details

Section
Research Articles

References

กรฐณธัช ปัญญาใส. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 12(2), 65-74.

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). องค์ประกอบการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care). ขอนแก่น :ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.

ชุติเดช เจียนดอน. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 41(3), 229-239.

ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร. (2551). การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตร รป.ม. (การบริหารทั่วไป). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

พรรณทิภา ศัพทะนาวิน. (2551). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนการเคหะรามอินทราเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รศรินทร์ เกรย์และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ. J Nurs Sci. 30(2),35-45.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง และคณะ. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการสร้างเครื่องมือวิจัย. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2554 ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559 จาก http://www.nesdb.go.th/

อภิชัย มงคล และคณะ. (2552). รายงานการวิจัย การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007) : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Betty R. Kirkwood. Essentials of Medical Statistics. 25 John Street, London WCIN 2BL 23 Ainslie Place, Edinburgh EH3 6AJ: Blackwell Science Ltd; 1988.

Gabriel, Z. & Bowling, A. (2004). Quality of life from the perspectives of older people. Ageing & Society. 24, 675-691.

George, L.K., (2010). Still happy after all these years: Research frontiers on subjective well-being in later life, J. Gerontol. Soc. Sci. 65: 229-331.

Rana A.K.M.M., Wahlin, A., Lundborg, C.S., and Kabir, Z.N., (2009) Impact of health education on health-related quality of life among elderly persons: results from a community-based intervention study in rural Bangladesh. Health Promotion International. 24(1) : 36-45.

Tae WL, Sun K, Kyung JL. (2006). Health promotion behaviors and quality of life among community-dwelling elderly in Korea : A cross-sectional survey. Int J Nurs Stud. 43(3) : 293-300.