การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 The Development of Local Learning Unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students

Main Article Content

ฐาปกรณ์ จิ๋วสุข และคณะ Thapakorn Jiwsuk and Others

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน  และ 3) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน กับเกณฑ์ที่กำหนดระดับดีมาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนบ้านสวนขวัญ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94  และ 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที  


                ผลการวิจัยพบว่า  1. หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3. ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง บรรเลงเพลงทัพทัน อยู่ในระดับดีมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                 The Purposes of study were 1) to development of local learning unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students ,2) to compare pretest and posttest achievements of Prathomsuksa  4  Students  , and 3) To compare post- practice skills of Prathomsuksa 4 Students after they had to learnt by Local Learning Unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students with very well defined criteria.  


                The samples were 20 of Prathomsuksa 4 Students in second semester of 2018 academic year of Suan Khwan School, Thaptan District, Uthaitane Province. The samples were selected by cluster random sampling. The instruments used in the research were 1) The note-taking form for Focus Group 2) The local learning unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students with the most suitable quality, 3) an achievement test with 30 items, 4 multiple choices, with the difficulty degree of 0.35 to 0.80, degree of discrimination from 2.9 to 8.5 and reliability coefficient of 0.94, and 4) The practice skills assessment form with a 5-level scale, having 6 items and reliability coefficient of 0.86. Data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation and One-sample t-test.                   


                  The research findings were as follows:  1. The local learning unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students with the most suitable quality   2. Prathomsuksa 4 Students who were taught with the local learning unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students had posttest achievement higher than that of the pretest significantly at the .05 level.   3. Prathomsuksa 4 Students who were taught with the local learning unit in Bunleng Pleng Tuptan for Prathomsuksa 4 Students had post-practice skills in very well defined criteria.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการปกครอง. (2560). อำเภอทัพทัน. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม, 2560, จาก https://www.amphoe.com/menu.php?am=801&pv=74&mid=1.

แก้วตา สีสุขแก้ว. (2552). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง กันตังศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นพเก้า ณ พัทลุง. (2551). การจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่น. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประทุม คงช่วย. (2552). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การแกะรูปตัวตลกหนังตะลุง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

พูลจิต หลี่อินทร์. (2556). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนหนองเม็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ยุวดี จีนเมือง. (2553). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การร้อยลูกปัดโนรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสถานศึกษาเครือข่ายคีรีรัตน์ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2561). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 47-60.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2552). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการ: การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991.

Zellmer, M.B. (1997). Effect on reading test scores when teachers are provided information that Relates local curriculum documents to the test. Wisconsin : Marquette University.

Vivian. O.W. (1995). Curriculum development and cognitive style: Cultural competency in genetic conseling. Dissertation Abstracts International. 23(2), 3160-A.

Wither. Sarash E. (2000). Local Curriculum Develipment and Place-based Education. University of Denver, 2176.