การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน ระหว่างโรงเรียนประถมศึกษาที่จัดการศึกษาแบบทวิภาษา และโรงเรียนปกติ Analyzing Differential Item Functioning in Reading Literacy between Bilingual Schools and Regular Schools

Main Article Content

วสันต์ นันทะเสน และคณะ Wasant Nantasen and Others

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการรู้เรื่องการอ่าน ของการทดสอบระดับชาติ ระหว่างโรงเรียนประถมศึกษาที่จัดการศึกษาแบบทวิภาษา และโรงเรียนปกติ  2) วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ระหว่างโรงเรียนแบบทวิภาษากลุ่ม ไทย-ม้ง ไทย-มอญ ไทย-มลายูถิ่น ไทย-กะเหรี่ยงโปว์ ไทย-เขมรถิ่นไทยและโรงเรียนปกติ และ (3) วิเคราะห์สาเหตุของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ที่เข้าร่วมโครงการทวิภาษา จำนวน 11 โรงเรียน 340 คน เป็นกลุ่มอ้างอิง และโรงเรียนปกติ จำนวน 17 โรงเรียน 339 คน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT) ด้านการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบใช้วิธีการถดถอยโลจิสติก


                ผลการวิจัยพบว่า 1)การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จำนวน 27 ข้อ พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกัน จำนวน 20 ข้อ มีขนาดอิทธิพล อยู่ระหว่าง .007 ถึง .044 ซึ่งเป็นขนาดอิทธิพลขนาดเล็ก แสดงว่าข้อสอบไม่ทำหน้าที่ต่างกัน 2) เมื่อแยกกลุ่มชาติพันธุ์ พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันส่วนใหญ่เป็นแบบเอกรูปลำเอียงเข้าข้างกลุ่มทวิภาษา 3) เมื่อวิเคราะห์ข้อสอบที่มีอิทธิพลขนาดกลางและขนาดใหญ่ เป็นข้อสอบที่ให้บอกความหมายของคำ เครื่องหมายสัญลักษณ์ และให้ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังดูและอ่าน ทำหน้าที่ต่างกันแบบเอกรูป ลำเอียงเข้าหากลุ่มอ้างอิง เนื่องจากกลุ่มโรงเรียนทวิภาษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงภาษาถิ่นสู่ภาษาราชการ ทำให้อ่านเขียนภาษาไทยได้ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจในหลักภาษาไทย สรุปความได้เป็นอย่างดี มีความสุขในการเรียน จึงทำข้อสอบได้ดีกว่ากลุ่มโรงเรียนปกติ


               The purposes of this research were: (1) Analyzing Differential Item Functioning in the Reading Literacy national test between Bilingual Schools and Regular Schools (2) Analyzing Differential Item Functioning between Bilingual Schools Hmong-Thai Mon- Thai Mala-Thai Pwo Karen-Thai Khmer-Thai and Regular Schools (3) The cause of Analyzing Differential Item Functioning.   This research used secon dary data of all population students. The sample included 340 students studying 3 in Prathomsuksa 3 of 11 bilingual elementary school. and 339 students of 20 regular schools, total are 679 students. To used purposive sampling for resemble with bilingual school.       


                 The results of this research were as follow:   1. The differential item functioning of 27 item according by using logistic regression showed that 20 item to measure by influence test during .007 to .044 which is a small effect sizes. That doesn’t differential item functioning.     2. Differential item function test between regular schools and bilingual school. Different of ethnicity so that the most differential item functioning was uniform DIF with bilingual school. 3. The cause of differential item function by medium effect size and large effect size showed that meaning words, meaning signs and answer the questions from text. Most different item functioning  were uniform, biased reference group. So that the bilingual schools understood about grammar thai language, good synopsis and interested more regular schools.

Article Details

Section
Dissertations

References

ชาตรี สำราญ. (2543). ครูรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี – สกฤษดิ์วงศ์.

ธเกียรติกมล ทองงอก. (2554). ประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในวิธีถดถอยโลจิสติกโดยใช้เกณฑ์ขนาดอิทธิพล 2 วิธี สำหรับข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบทวิวิภาค : ข้อมูลจำลองและข้อมูลเชิงประจักษ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). การสร้างเครื่องมือวัดด้านพุทธพิสัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวิจัยและสถิติ ทางการศึกษา (หน่วยที่ 6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรณา เทียนมี. (2558). หลักการและเป้าหมายของการจัดการศึกษาแนวทางทวิภาษาเต็มรูป. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2559, จาก http://www.academic.obec.go.th/web/static/d/516

ศิริพร หมั่นงาน. (2557). ศึกษาความสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาร่วมกลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกุรที่บกพร่องทางการเรียนรู้ จากการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยตามแนวพหุปัญญาร่วมกับการสอนทวิภาษาและสื่อบทเรียนการ์ตูนสองภาษา (ไทย-ญัฮกุร). ใน ชนิตา มิตรานันท์ (บรรณาธิการ), วารสารการวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 80-88. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (MODERN TEST THEORIES). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2559, จาก http://www.lc.mahidol.ac.th

สังวรณ์ งัดกระโทก. (2559). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษาด้วยทฤษฎีการวัดแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบข้อสอบ. วันที่ 4-6 เมษายน 2559 โครงการบริการวิชาการแกสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (มปป.). มาตรฐานการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2559, จาก http://www.niets.or.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การพัฒนานโยบายการเรียนการสอนภาษาไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2557). คู่มือการจัดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2557. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, จาก http://www.bet.obec.go.th

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2552). โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยโดยนำภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ. (2561). สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส : โครงการจัด การศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย–มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ).

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2558). โจทย์ใหม่การศึกษาไทย ปฏิรูปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2559, จากhttp://www.citizenforum.in.th/post.php?id=223

Camilli, G., & Shepard, L. A. (1994). Methods for identifying biased test items. (Vol. 4) Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Kim, S.H., Chosen, A.S. and Kim, S. (2007). DIF Detection and Effect Size Measures for Polytomously Scored Item. Journal of Educational Measurement Summer, 44 (2): 93-116.

McCallon E. L.and Schumacker, R.E. (2002). Test bias and differential item functioning: ELM. Metrics.

Holland, P. W., & Thayer, D.T. (1988). Differential item performance and the Mantel-Heanszel procedure. In Wainer, H. & Braun, H.I. {eds.}, Test Validity, 129-145. NJ: Lawrence Erlbaum Associate.

Zumbo, B.D. (1999). A Handbook on the Theory and Methods of Differential Item Functioning (DIF): Logistic regression modeling as a unitary framework for binary and likert-type (ordinal) item scores. Ottawa, Canada: Directorate of Human Resources Research and Evaluation, Department of National Defense. Retrieved from http://www.edu.ubc.ca/faculty/zumbo/DIF/index.html