ผลการใช้รูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในภูมิภาคเหนือตอนล่าง The Effectiveness of Implementation of Integrated Collaborative Model to Reduce the Disparities of Education Quality and Standards in Educational Service Area in the Lower North Region

Main Article Content

เอื้อมพร หลินเจริญ Aumporn Lincharoen

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้รูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาในภูมิภาคเหนือตอนล่าง  2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือ  แหล่งข้อมูล ได้แก่  ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบไปใช้   จากเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 5 เขต   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกหลักฐานร่องรอย   การสัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือ  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์  


                 ผลการวิจัย พบว่า   1.ผลการใช้รูปแบบบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษา  พบว่า ภายหลังการนำรูปแบบไปใช้ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายมีการสร้างและขยายเครือข่ายการบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา   มีการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ และส่งผล ต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา  ทั้งในด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน  ความเข้าใจในระบบประกันคุณภาพของผู้บริหารและครู   ผู้ปกครองเกิด ความศรัทธาและยอมรับในคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2)  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือฯ  ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


                   The objectives of  this research  were  1) to  investigate  the effect  of  the  implementation of   the integrated  collaboration  model to reduce  the disparities  of  education quality and standards  of   the 5 offices of Educational   Service  Areas  in the Lower  North  region. 2) to investigate  the satisfaction of the stakeholders  toward  the  collaboration network  working group. The data sources were supported by the directors  of  the  Educational   Service  Areas,  supervisors and school sdmonistrators.   The  research   data  was collected  by    questionnaires  , evidence  checklists ,  interviews  and  focus group discussions.  The quantitative  data  was analyzed  by  mean  standard deviation and percentage,  qualitative data was  analyzed by content analysis  and  narrative.  


                   The research  results  revealed  that:  1)  The offices  of  Educational Service Areas and schools utilizing the integrated collaboration  model had  create and  expand the integrated collaboration  networks to reduce  disparities of education quality and standards. In addition, they had systematically developed  their performance as well as the implementation of   the model. The results suggested that  the model helped the schools to improve their  education  quality, to raise achievement  and  provided  the school administrators and the teachers  with better  understanding  in  the quality assurance system. The parents  had   faith and accepted the  school  quality.   2)  The stakeholders  were  highly satisfied  with  the overall and  each  part of  the collaboration network  working group.

Article Details

Section
Research Articles

References

กนกอร สมปราชญ์ และคณะ. (2548). ความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

ธนา ประมุขกูล. (2547). บทความปริทัศน์. ขอนแก่น: ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต 6. สำนักทดสอบทางการศึกษา.

ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559).รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ. 2554 - 2558) ของสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการการสังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา. วันที่ 13-17 กรกฏาคม 2560.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล. (2558) การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน : พหุกรณีศึกษาสถานศึกษาที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 28(1): 27-47.

เอกรัฐ พิมพ์ไทย. (2548). ความไม่เสมอภาคในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ : การวิเคราะห์แยกระดับความไม่เสมอภาคและแนวโน้ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Breeding, R.R. (2008). Empowerment as a function of contextual self-understanding. Rehabilitation Counseling Bulletin, 51(2): 96-106.

Clutterbuck. D., & Kernaghan, S. (1994). The power of empowerment. London: Kogan Page Limited.

Graham, J., & Wright. J.A. (1999). What does interprofessional collaboration mean to Professionals working with pupils physical disapilities? British Journal of Special Education, 22(1).

Kolen, M.J and Brennan, R.J. (2014). Test equating, scale and linking : Methods and practices. New York: Springer-Verlag.

Lashley, C. (2001). Empowerment: HR strategies for service excellence. Oxford: Elsevier Butterworth Heinemann.