การใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง โครงการ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน โครงการแนะแนวของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี Using Learning Packages of Project to Develop Guidance Project Writing Ability of the Third Years Students Faculty of Education Udonthani Rajabhat University

Main Article Content

สุนิสา วงศ์อารีย์ Sunisa Wongaree

Abstract

                  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการเขียนโครงการแนะแนวของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง โครงการ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ก่อนและหลังจากการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา จิตวิทยาและการแนะแนว ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ เรื่อง โครงการ แบบประเมินความสามารถในการเขียนโครงการแนะแนว มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ  เท่ากับ 0.67 - 1.00  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.53 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 และแบบวัดความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest- Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test Dependent) 


                 ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการเขียนโครงการแนะแนวของนักศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{\chi}= 3.87)  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาและการแนะแนวของนักศึกษา พบว่า หลังจากการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ พบว่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{\chi}= 4.37)


               The Purposes of this research were: 1) to study guidance project writing ability of the third years students faculty of education Udonthani Rajabhat University implementing learning packages of project, 2) to compare the psychology and guidance learning achievement before and after implementing learning packages, and 3) to explore the satisfaction of the third years students towards the implementation of the learning packages. The samples were 40 third years students which was selected by purposive sampling. The research instruments to obtain the data were learning packages of project with the IOC (index of item-objective congruence) between 0.67 and 1.00, achievement test with the difficulty between 0.37 and 0.78, the discrimination between 0.20 and 0.53, and the reliability of 0.72 and questionnaire with the reliability of 0.95. The research design was one group pretest-posttest design. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test dependent.  


                  The results of this study were as follow: 1) The guidance project writing ability of the third years students as a whole were at high level (gif.latex?\bar{\chi}= 3.87). 2) The students’ psychology and guidance learning achievement before and after implementing by the learning packages were statistically significant different at .05 level after implementing learning by the learning packages, average scores were higher than before implementing learning by the learning packages. And 3) The student’ satisfaction towards the implementation of the learning by the learning packages are whole were at high agreement level. (gif.latex?\bar{\chi}= 4.37)

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ.

จิราวรรณ สังวรปทานสกุล. (2546). พัฒนาการความสามารถในการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าที่เรียนรู้ โดยวิธีโครงงานและเรียนรู้โดยใช้คู่มือครู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

เจษฎา บุญมาโฮม. (2558). หลักการแนะแนวและการพัฒนาผู้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิกดีไซน์.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย ดิสสระ. (2539). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ศรีพัตรา ยิ้มเจริญ. (2543). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงานการแปรรูปผลไม้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

สุวัฒน์ มุทธเมธา. (2553). การเรียนการสอนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arndt, V. (1987). Six writers in search of text: a protocol-based study of L1 and L2 writing. ELT Journal, 41(3), 257-267.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill Book Company,Inc.

Hollis, J.W., and Hollis, L.U. (1965). Organizing for Effective Guidance. Second ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall Inc.

Moore, N.M. (1977). “Learning Centers: Turning On Elementary Classroom”. Educational Technology, 14(11),24.