ผลกระทบสุขภาพสังคมจากความเสื่อมสภาพของแม่น้ำ: กรณีศึกษาเกษตรกร ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน Social Health Impact on River Deterioration: Case Study of Farmers in Li watershed, Lumphun Province

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย และคณะ Samart Jaitae and Other

Abstract

                 การศึกษาแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบสุขภาพสังคมและพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับสุขภาพสังคมของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร จำนวน 223 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 22  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


                ผลการศึกษา  พบว่า ระดับผลกระทบสุขภาพสังคมจากความเสื่อมสภาพของแม่น้ำของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 ± 0.52)  โดยจำนวนหนี้สินในปัจจุบัน  ทัศนคติต่อความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้ และการใช้ประโยชน์แม่น้ำลี้ พยากรณ์ผลกระทบสุขภาพสังคมของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ควรเสริมสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์แม่น้ำของเกษตรกรในลุ่มน้ำ และการบริหารจัดการแม่น้ำที่มีประสิทธิภาพ


                The objectives of mixed methods was to investigate the social health impact on river deterioration, and factors predicting social health impact among farmer. The number of sample size was 232 households and 16 stakeholders. Data collected by questionnaires, non - structured interview and focus group were executed. Data were analyzed by descriptive statistics, content analysis and stepwise multiple linear regression analysis.              


                 The results indicated that the social health impact on river deterioration were at moderate levels (Mean = 3.08 ± 0.52). A situation, the attitude on river deterioration and river utilization were significantly correlated with the social health impact. In addition, to empower the participation activity in river utility of farmer and the exploitation of river well management.

Article Details

Section
Research Articles

References

เกศสุดา สิทธิสันติกุล บัญจรัตน์ โจลานันท์ และปรารถนา ยศสุข. (2560). ทางเลือกในการปรับตัวต่อภัยแล้งของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.erp.mju.ac.th/open File.aspx?id=MTc0Mzky&method=inline 29 สิงหาคม 2560.

ชาญชัย เจริญสุข และกาญจนา นาถะพินธุ. (2555). ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยน้ำท่วมและการปรับตัวของประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5 (3), 1- 10.

ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าวและมันสำปะหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการเงินพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ภูมินทร์ ขัตตะละ. (2553). การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีนตอนบนและตอนกลางตามช่วงฤดู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.

สถาบันวิจัยสังคม. (2560). โครงการจัดทำร่างแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับประชาชน: กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สามารถ ใจเตี้ย. (2558). อนามัยสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). ผลกระทบสุขภาพชุมชนจากคุณน้ำเสื่อมโทรมและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน.วารสารควบคุมโรค, 44 (1), 1 – 8.

สามารถ ใจเตี้ย และกฤษณา ลางคำ. (2562). ผลกระทบสุขภาพสังคมจากภัยแล้งและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการแก้ไขผลกระทบจากภัยแล้ง: กรณีศึกษาลุ่มน้ำกวงตอนบน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(1), 149 -158.

สุกิตติยา บุญหลาย และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรยั่งยืนกรณีศึกษา: ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1771 – 1784.

ส่วนเฝ้าระวังและเตือนภัย. (2560). รายงานสถานการณ์ผลการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน แม่น้ำปิง (ตอนบน) กวง ลี้ กก อิง และแม่น้ำปาย ระหว่างเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2560. เชียงใหม่: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 (เชียงใหม่).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Brad U. & Jonathan O. (2017). The Colorado river is shrinking because of climate change. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2017/06/the-colorado-river-is-shrinking-because-of-climate-change

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9 thed.).
New York: John Wiley & Sons.

Environment Canada. (2017). Uses for Water In Southern Alberta. Alberta: University of Lethbridge.

Juergen G. (2011). Integrative freshwater ecology and biodiversity conservation. Ecological Indicators, 11(6), 1507 – 1516.

Matthew B.M. & Michael A.H. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook (2 nd ed). California: SAGE Publications, Inc.

Steven B.T. (2012). Examining Impacts on Water Demand Resulting from Population and Employment Growth Using a Regional Adjustment Model. Master of Science Degree, The University of Tennessee, Knoxville.