การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง; The Development of Local Curriculum to Promote Ethics and Moral with The Philosophy of Sufficiency Economy of Pre-School Children

Main Article Content

วไลพร เมฆไตรรัตน์ Walaiporn Mektrairat
พรรณี เหมะสถล Pannee Emasaton

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต และภูมิปัญญาในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท และกำแพงเพชร 2)  เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรในด้านความเหมาะสมของหลักสูตร และพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของเด้กปฐมวัย โดยการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น  กลุ่มทดลองในการนำหลักสูตรไปใช้เป็นเด็กปฐมวัย จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนโกรกพระพิทยาคม ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 30 คน โรงเรียนอนุบาลชัยนาท ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 40 คน และโรงเรียนอนุบาลราชภัฏกำแพงเพชร ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 13 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสังเกตคุณธรรมจริยธรรม และแบบวัดคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย  วิเคราห์ข้อมูล  โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t-test

                ผลการวิจัยพบว่า

                องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และภูมิปัญญาในชุมชนท้องถิ่น  อันเป็นความต้องการของท้องถิ่นในการศึกษาค้นคว้า วิเคราห์ข้อมูล และนำไปสร้างหลักสูตรท้องถิ่นได้แก่  ความเป็นอยู่ของชาวโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์  เขื่อนเจ้าพระยา ส้มโอชัยนาท จังหวัดชัยนาท และกล้วยไข่กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร  มีผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่น อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และผลการประเมินพัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกโรงเรียน

Abstract

                The purposes of this research were: 1) to study and analyze the knowledge on flokways and wisdom in local community in Nakhon Sawan, Chainat and Kamphaeng Phet provinces 2) to construct the local  curriculum for promoting ethics and morals in early childhood students on the sufficiency economy philosophy, and 3) to evaluate the quality of curriculum  in the aspect of appropriateness and development of ethics and morals in early childhood students by trying out the local curriculum. The sampling used for the curriculum was early childhood  students in three schools, 30 students in the third year of Kindergarten from Krok Phra Pittayakom school, 40 students in the second year of Kindergarten from Anuban Chainat School, and 16 students in the third year of Kindergarten from Anuban Rajabhat Kamphaeng Phet School. The study was in the second semester in the academic year 2011, and the experiment look place over 6 weeks in the learning experience activities. The research instruments used in this study consisted of experiential learning plan, the observation checklist and measurement checklist for the aspect of ethics and morals in early childhood students. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and the statistics of the t-test.

                The results revealed that : The knowledge relates to folkways and wisdom in local community is required from the people in local area for study, to analyze data and to construct local curriculums consist of the living conditions of people in Krok Phra district Nakhon Sawan province, Chao Phraya dam and pomelo in Chi Nat province, golden banana in Kamphaeng Phet province, local curriculm quality assessment was at  high level to the must level and the evaluation result of morality and ethics development in pre-school childrent after studying was higher than befor the learning experience by a statistically significant at the level .05 for each school.

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

วไลพร เมฆไตรรัตน์ Walaiporn Mektrairat

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

พรรณี เหมะสถล Pannee Emasaton

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์